จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

“คลัสเตอร์ผ้าบาติกภูเก็ต”

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2554 ที่ห้องประชุมโรงแรมเพิร์ล อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการสัมมนาสรุปผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (industrial Cluster Development) “คลัสเตอร์ผ้าบาติกภูเก็ต” ประจำปี 2554 ซึ่งคลัสเตอร์ผ้าบาติกภูเก็ต จัดขึ้น โดยมีนายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายก อบจ.ภูเก็ต หน่วยงานราชการที่เกี่ยว และสมาชิกคลัสเตอร์ผ้าบาติกภูเก็ตเข้าร่วม
สำหรับการรวมตัวของผู้ประกอบการผ้าบาติกภูเก็ตเป็นคลัสเตอร์ผ้าบาติกภูเก็ต เกิดขึ้นภายหลังศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมผ้าบากติกภูเก็ต เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและการสืบต่อของวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของภูเก็ต ขาดแนวทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ จึงได้มอบหมายให้บริษัทเอ็น. พี. ชินดัง คอลซัลแท็นซ์ จำกัด เข้ามาทำการศึกษาและดำเนินการรวมกลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติกของจังหวัดภูเก็ตภายใต้โครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมผ้าบากติกจังหวัดภูเก็ต เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการฯ พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมผ้าบาติกให้สามารถรับมือกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้วิสัยทัศน์ “คลัสเตอร์บาติกภูเก็ตเป็นศูนย์บูรณาการบาติกของประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ” เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานของกลุ่ม ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการรวมตัวกันของผู้ประกอบการผลิตผ้าบาติกในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จำนวน 20 ราย เพื่อจะร่วมผลักดันให้ผ้าบาติกเดินหน้าไปสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
นายเฉลิม แสงจันทร์ ประธานคลัสเตอร์ผ้าบาติกภูเก็ต กล่าวว่า การผลิตผ้าบาติกในจังหวัดภูเก็ตเริ่มต้นมาประมาณ 40 ปี และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงปี 2546 ผลจากการที่หน่วยงานภาครัฐเข้าไปส่งเสริมให้กลุ่มต่างผลิตผ้าบาติกันเป็นจำนวนมากจนเกิดร้านผลิตผ้าบาติกมากกว่า 60 แห่ง แต่หลังจากนั้นความนิยมของผ้าบาติก็เริ่มลดลงจนปัจจุบันเหลือเพียงประมาณ 10 กว่าร้านเท่านั้นและเป็นผู้ผลิตที่แท้จริง สาเหตุที่การผลิตผ้าบาติกลดลง เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ผลิตในภูเก็ตต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างขายทำให้ผาบาติกภูเก็ตขาดการพัฒนารูปแบบและอยู่กับที่ รวมทั้งบางส่วนที่เคยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐก็ไม่ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม
“หลังจากมีการรวมตัวกันเป็นคลัสเตอร์ผ้าบาติกภูเก็ตแล้ว ทำให้เกิดการพัฒนาผ้าบาติกแนวใหม่ขึ้น และจะมีการพัฒนาผ้าบาติกของภูเก็ตไปสู่ยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ที่วางไว้ โดยเฉพาะการทำให้ผ้าบาติกเป็นอีกหนึ่งอัตลักษ์ของภูเก็ต เนื่องจากเมื่อมีการรวมตัวกันก็จะทำให้สามารถต่อรองในเรื่องของการสั่งซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีราคาแพงให้มีราคาที่ลดลง เพราะจะมีการสั่งซื้อครั้งละเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ก็จะมีการถ่ายทอดเทคนิคการผลิตไปสู่เยาวชนคนรุ่นหลัง การกระจายงานให้กับผู้ประกอบการด้วยกันเนื่องจากบางร้านมียอดสั่งเข้ามาจำนวนมากแต่ไม่สามารถผลิตได้ทัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนและพัฒนาเทคนิคการผลิตใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นด้วย”
นายเฉลิม กล่าวด้วยว่า เมื่อมีการรวมกลุ่มกันได้แล้ว เราก็ต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งศูนย์บูรณาการบาติก เพื่อใช้เป็นสถานที่รวบรวมงานของสมาชิก การสอนเทคนิคการเขียนบาติให้กับคนรุ่นหลัง รวมทั้งการพัฒนาเทคนิคการทำผ้าบาติกแบบสมัยใหม่ ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า และเป็นสถานที่ในการจัดจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้ต้องยอมรับว่ากลุ่มลูกค้าผ้าบาติกประมาณ80% เป็นคนไทย ฉะนั้นการจะผลักดันให้ผ้าบาติกเป็นสินค้าเพื่อให้ชาวต่างชาติซื้อเป็นของที่ระลึกจำเป็นจะต้องมีการพัฒนางานให้ตรงกับความต้องการของต่างชาติ โดยเฉพาะเรื่องของการนำศิลปะ การพัฒนาลายผ้าและรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการ จากเดิมที่มีเฉพาะลายทะเล ดอกไม้เท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น