เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556 ที่ห้องประชุมชั้น 2 โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน เปิดการประชุมเชิงปฎิบัติการ แนวคิดการพัฒนาและบริการสุขภาพแนวใหม่ “เวชนคร หรือ Medicopolis” ในพื้นที่อันดามัน ซึ่งทางศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาสาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสคร์ จัดขึ้น
เพื่อระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้เกิดเขตพื้นที่พัฒนานวัตกรรมบริการสุขภาพแนวใหม่ หรือเวชนครในพื้นที่อันดามัน โดยมี ศ.เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนทล ที่ปรึกษาศูนย์ความเป็นเลิศฯ, ดร.กาญจนา ปานุราข ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ศูนย์ความเป็นเลิศฯ นางเทียรทอง ใจสำราญ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ ประจำภูมิภาค ภาคใต้ ตลอดจนตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน ประกอบด้วย ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรังและระนองเข้าร่วม
ดร.กาญจนา ปานุราข ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ศูนย์ความเป็นเลิศฯ กล่าวถึงที่มาของโครงการ Medicopolis หรือเวชนคร เขตพัฒนาและบริการสุขภาพแนวใหม่ของประเทศไทย ว่า ด้วยสุขภาพของประชาชนเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ และแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 มุ่งสร้างเสริมบริการสุขภาพถ้วนหน้าอย่างมีคุณภาพ
แต่มีจุดอ่อนสำคัญที่ต้องพึ่งพายา เวชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศสูงถึง 89,000 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศสู่การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และการบริการสุขภาพยังได้รับรับการสนับสนุนน้อยและดำเนินการเป็นไปอย่างล่าช้า และขาดความเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
จากเหตุผลดังกล่าว ทางศูนย์ความเป็นเลิศฯ จึงได้จัดทำโครงการ เวชนคร ขึ้น เพื่อเป้ฯเขตพื้นที่ให้บริการทางการแพทย์และสุขภาพแก่ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและยั่งยืน เพื่อเป็นโครงสร้างหลักของประเทศที่จะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และการบริการสุขภาพของอาเซียน รวมทั้งเพื่อเป็นพื้นที่ที่มีการบูรณาการ การวิจัยและพัฒนา ยา เวชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการทางการแพทย์และสุขภาพ ดร.กาญจนากล่าว
ขณะที่ นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า นับเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่ทางศูนย์ความเป็นเลิศฯ ได้มีแนวคิดริเริ่มในการพัฒนาเทคโนโลยี โดยนำองค์ความรู้และวิทยาการด้านชีววิทยาศาสตร์มาเป็นฐานในการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้เป็นเขตบริการสุขภาพโดยรวม ซึ่งตรงกับแนวทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายฝั่งอันดามันที่ต้องการพัฒนาให้เป็นเมืองท่องเที่ยวและบริการเชิงสุขภาพอย่างครบวงจรและยั่งยืน
เพื่อยกระดับให้เป็นพื้นที่ศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยเฉพาะรายได้จากการบริการนักท่องเที่ยวซึ่งมีจำนวนมากในแต่ละปี อีกทั้งอันดามันยังมองหาตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ เช่น อินเดีย จีน ตะวันออกกลาง เป็นต้น ที่สำคัญ คือ การสร้างกลไกและเครือข่ายความเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะสนับสนุนให้แนวคิดดังกล่าวชัดเจนเป็นรูปธรรมต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น