จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รมว.ท่องเที่ยวรับฟังปัญหาท่องเที่ยวอันดามัน




เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2557 ที่ห้องประชุมโรงแรมออร์คิด รีสอร์ท แอนด์ สปา อ.เมือง จ.ภูเก็ต นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานประชุมหารือผู้ประกอบการด้านากรท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต พังงาและกระบี่ เพื่อติดตามผลการดำเนิอนการประชุมหารือผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์ และผู้เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ 


ในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่โรงแรมป่าตอง รีสอร์ท โดยมี ร.ต.อานุภาพ เกษรสุวรรณ์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม 


ทั้งนี้ได้มีการสรุปประเด็นปัญหาที่มีการนำเสนอ ประกอบด้วย ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และแหล่งท่องเที่ยว อาทิ การบำบัดน้ำเสียที่ยังไม่สมบูรณ์ ปัญหาขยะ ปัญหาโครงกรพื้นฐานไม่เพียงพอรองรับการเดินทาง แหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม เป็นต้น ด้านมัคคุเทศก์ อาทิ ปัญหามัคคุเทศก์ถื่อน ปัญหาบัตรมัคคุเทศก์ เป็นต้น ปัญหาเรื่องข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์การ์ด โรงแรมขนาดเล็ก ๆ และกฎกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอื่นๆ ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 


โดยมีการขอให้เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัย การติดตั้งกล้องวงจรปิด และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ปัยหาการขาดอัตรากำลังของหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ ปัญหาของกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว และปัญหาอื่นๆ เช่น ขาดงบประมาณการจัดทำงานวิจัยด้านการท่องเที่ยว การปรับขึ้นค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานฯ ไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชุมชน ขาดการกำหนดทิศทางในการพัฒนาระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ไม่มีสำนักงาน ททท.จังหวัดพังงา เป็นต้น 


ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตผู้ประกอบการได้นำเสนอปัญหาและความต้องการอย่างหลากหลาย เช่น นายสถิรพงศ์ ณ ตะกั่วทุ่ง นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ฝากเพิ่มเติมในการดูแลเรื่องนำสายไฟฟ้า โทรศัพท์และสายเคเบิลลงใต้ดิน โดยเฉพาะบริเวณแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เช่น หาดป่าตอง หาดกะตะกะรน หาดกมลา เป็นต้น เพื่อให้เกิดความสวยงามในแหล่งท่องเที่ยว เพราะปัญหาอื่นๆ ได้มีการนำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว 


ขณะที่ตัวแทนผู้ประกอบการการทัวร์จีนภูเก็ต ฝากให้ดูแลเรื่องของนอมินีชาวต่างชาติ โดยเฉพาะในส่วนของกลุ่มทุนจีนที่เข้ามาโดยอาศัยคนไทย และการใช้มัคคุเทศก์ที่เป็นคนจีน ซึ่งกลุ่มนี้เมื่อเข้ามาอยู่นานๆ ก็จะมีการติดต่อกลุ่มทุนจากประเทศจีนให้เข้ามาลงทุนทั้งในเรื่องของรถบริการรับส่งนักท่องเที่ยว เรือนำเที่ยว ร้ายจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ร้านอาหาร เป็นต้น สร้างความเดือนร้อนให้กับผู้ประกอบการคนไทยเป็นอย่างมาก ไม่ต่างกับผู้ประกอบการเรือนำเที่ยวเกาะพีพี-อ่าวพังงา ซึ่งประสบปัญหาเช่นเดียวกัน 


ส่วนของตัวแทนประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ฝากเรื่องของการขยายสนามบิน เนื่องจากตามแผนงานที่ขยายให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 12.5 ล้านคนนั้น ขณะนี้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาภูเก็ตก็มีจำนวนมากกว่า 11 ล้านคนแล้ว ดังนั้นอยากให้มองถึงการพัฒนาเชื่อมต่อการใช้สนามบินสนามบินภูเก็ตกับสนามบินกระบี่ โดยนำระบบรถไฟความเร็วสูงมาใช้ และอยากให้ทบทวนการสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติของภูเก็ตด้วย 


ด้านนางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดภูเก็ต กล่าวขอบคุณรัฐมนตรีและคณะที่เดินทางมารับฟังปัญหาของผู้ประกอบการในพื้นที่ และฝากเรื่องของการจัดสรรงบประมาณในพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว เพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และให้สอดคล้องกับที่จังหวัดภูเก็ตทำรายได้ให้กับประเทศปีละจำนวนมาก แต่กลับได้รับงบประมาณด้านการพัฒนาน้อยมาก 


และอยากให้เปลี่ยนทัศนคติที่ว่าภูเก็ตรวยแล้วให้ช่วยตัวเอง ซึ่งเห็นด้วยกับแบ่งการพัฒนาเป็นกลุ่มคลัสเตอร์ แต่อยากให้เพิ่มความเข้มแข็งของแต่ละเมืองโดยแบ่งเป็นเมืองเอกเมืองโทด้านการท่องเที่ยว เพื่อจะได้สามารถพัฒนาได้ตรงจุด รวมทั้งการเพิ่มงบประมาณให้กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในการทำประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ต่างๆ ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้น 


ขณะที่นางกอบกาญจน์ กล่าวว่า เหตุที่ต้องมีการมาประชุมรับฟังความเห็นจากผู้ประกบอากร เพื่อให้เห็นปัญหาและความต้องการในภาพรวม และต้องการให้เปลี่ยนยุทธศาสตร์ที่เคยทำแบบแยกส่วนมาเป็นการมองในภาพรวม ซึ่งหลังจากรับทราบปัญหาแล้วก็จะมีทีมงานที่ลงไปพุดคุยในพื้นที่เพื่อให้ได้ภาพว่าแต่ละพื้นที่ต้องการอะไรอย่างไรที่ชัดเจน เพราะแต่ละพื้นที่จะมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน เราจะดึงศักยภาพมาใช้ได้อย่างไร 


และจะต้องเกิดจากความต้องการจากท้องถิ่นอย่างแม้จริง และขอให้จัดลำดับความสำคัญของแต่ละโครงการ แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ การดูแลรักษาโปรดักซ์ที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืน นักท่องเที่ยวมาแล้วอยากมาอีก รวมทั้งสามารถดูแลตัวเองได้ในอนาคต เพราะจากที่รับฟังว่าทุกพื้นที่ก็ล้วนต้องการนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น