จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ติดตามนโยบาย 5 ก้าวย่างพร้อมเปิดหอเกียรติยศเรือนจำภูเก็ต

ติดตามการดำเนินนโยบาย 5 ก้าวย่าง 
พร้อมเปิดหอเกียรติยศเรือนจำภูเก็ต 


เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2559 ที่เรือนจำจังหวัดภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต พลเอกทิวะพร ชะนะพะเนาว์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยพลเอกวสันต์ สุริยมงคล ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดการจัดระเบียบเรือนจำ/ทัณฑสถานทั่วประเทศ และคณะจากกระทรวงยุติธรรมและกรมราชทัณฑ์ 


เดินทางมาตรวจให้คะแนนเรือนจำจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานตามนโยบาย 5 ก้าวย่าง ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และเปิดหอเกียรติยศหรือหอบันทึกประวัติศาสตร์ ซึ่งรวบรวมผลการดำเนินงานต่างๆ ของเรือนจำจังหวัดภูเก็ต เพื่อสร้างความภาคภูมิใจและเป็นสิ่งเตือนใจของการเปลี่ยนแปลงให้ยั่งยืน โดยมีนายพิชิต วรรณจิตต์ ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนเจ้าหน้าที่เรือนจำและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม


ซึ่งการประกวดเรือนจำฯ นั้น ได้แบ่งเป็นกลุ่มเรือนจำที่มีผู้บริหาร (ผู้บัญชาการเรือนจำ) เป็นผู้อำนวยการระดับสูง และเรือนจำจังหวัดภูเก็ตได้รับการคัดเลือกแล้วรอบแรก นายพิชิต วรรณจิตต์ กล่าวว่า เรือนจำภูเก็ตได้สนองนโยบายกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบริหารราชทัณฑ์ “ 5 ก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงราชทัณฑ์ ” เพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์ของเรือนจำ ให้ไปในทางที่ดี ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์โดยรวมของจังหวัดภูเก็ต ด้วยหลักการที่ว่า ภูเก็ต เรือนจำสะอาด 


โดยกำหนดมาตรการตรวจค้นบุคคลเข้าออก อย่างเข้มงวด มีการจู่ โจมตรวจค้นร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกเดือนทำให้เรือนจำจังหวัดภูเก็ตได้ ประกาศเป็นเรือนจำสีขาว ปราศจากสิ่งต้องห้าม ยา เสพติดและโทรศัพท์มือถือ และได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณยกย่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต 2 ปีซ้อนให้ เป็นหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่นด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมทั้งได้จัดระเบียบเรือนนอน การแต่งกายของผู้ต้องขังให้สะอาดถูกต้องตามระเบียบ สำหรับการดำเนินงานในกิจกรรม "5 ก้าวย่าง แห่งการเปลี่ยนแปลงราชทัณฑ์ ” 


ก้าวที่ 1 มีการ ควบคุม ปราบปรามยาเสพติด โทรศัพท์มือถือ และ สิ่งของต้องห้ามในเรือนจำ ส่วนก้าวที่ 2 เป็นการจัด ระเบียบภายในเรือนจำ ก้าวที่ 3 เป็นการฝึกวินัยผู้ต้องขัง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยให้ผู้ต้องขังมีความเคารพกฎระเบียบ ส่วนก้าวที่ 4 มีการพัฒนาจิตใจ ด้วยหลักสูตรสัคคสาสมาธิ เพื่อเป็นการยกระดับจิตใจ ผู้ต้องขัง สามารถควบคุมอารมณ์ให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม และก้าวที่ 5 เป็นการสร้างการยอมรับจากสังคม เพื่อปรับทัศนคติของสังคม ด้วยการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจแก่สังคม ด้วยการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจแก่สังคม อาทิ การจัด โครงการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขัง จัดระเบียบผู้ต้องขัง การฝึกวินัยผู้ต้องขัง การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และการส่งเสริมอาชีพให้ผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ เป็นต้น 


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น