จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กสทช.จัดฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้ายที่ภูเก็ต


เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ที่ห้องประชุมจามจุรี 1 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน 1 อ.เมือง จ.ภูเก็ต รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง “อนาคตของวิทยุกระจายเสียงเชิงประเด็นในประเทศไทย” ซึ่งทางสำนักงาน กสทช.จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 หลังจากที่ได้เคยจัดมาแล้ว 3 ครั้ง ที่กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น และเชียงใหม่ โดยมีผู้แทนจากองค์กรต่างๆ เข้าร่วมประมาณ 150 คน ซึ่งแบ่งกลุ่มความสนใจออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสนใจด้านศาสนา กลุ่มสนใจด้านสุขภาพ อาชีพและการดำรงชีวิตอื่นๆ และกลุ่มความสนใจด้านเด็ก สตรีและคนด้อยโอกาส

พันเอกสมมาส สำราญรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนงานกฎหมาย กล่าวว่า การสัมมนาดังกล่าวเป็นผลเนื่องจากการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ประกอบกับพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ทำให้มีการประกอบกิจการกระจายเสียงโดยใช้คลื่นความถี่อีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกิจการกระจายเสียงเชิงประเด็น คือ การประกอบกิจการบริการสาธารณะประเภทที่หนึ่ง หมายถึง กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ สุขภาพ อนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน

ขณะที่ รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. กล่าวว่า เรื่องของวิทยุกระจายเสียงเชิงประเด็น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ แต่เริ่มพูดถึงกันมากในประเทศไทยช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ในช่วงที่มี กทช.มีอำนาจหน้าที่ตามบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ที่กำหนดว่า ในระหว่างที่การจัดตั้งองค์กรอิสระในการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ยังไม่แล้วเสร็จให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนเป็นการชั่วคราว

“ในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ดังกล่าว กทช.ได้ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว หรือวิทยุกระจายเสียงชุมชน และได้พิจารณาคำขออนุญาตไปแล้วจำนวนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบัน ทราบว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการในขั้นตอนของสำนักงานที่จะออกใบอนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระหว่างกระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน ได้มีกลุ่มสนใจในประเด็นต่างๆ ได้ยื่นคำขอใบอนุญาตกิจการเข้ามา แต่ด้วยอำนาจหน้าที่ของ กทช.ที่มีจำกัด ทำให้สามารถพิจารณาออกใบอนุญาตได้เฉพาะวิทยุกระจายเสียงชุมชนเชิงพื้นที่เท่านั้น ในขณะที่ประชาชนมีความต้องการวิทยุกระจายเชียงเชิงประเด็นด้วย และเชื่อว่าเป็นสิทธิที่สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมาย”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น