จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สตรีภูเก็ตจัดตกแต่งผลิตภัณฑ์จากอาหาร


เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 54 ที่ห้องประชุมโรงเรียนสตรีภูเก็ต นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนสตรีภูเก็ต จำนวนประมาณ 74 ห้องเรียน ร่วมกันนำผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่างๆ ร่วมโครงการประกวดจัดตกแต่งผลิตภัณฑ์จากอาหาร งานประเพณีพ้อต่อ (ป่ายปัว) ประจำปี 2554 ซึ่งทางศูนย์สืบค้นและเผยแพร่ข้อมูลบาบ๋า ภูเก็ต โรงเรียนสตรีภูเก็ต จัดขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีนางสาวดวงกมล เอช ครูที่ปรึกษาศูนย์สืบค้นและเผยแพร่ข้อมูลบาบ๋าภูเก็ต นายลิขิต หล้าแหล่ง อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ในฐานะอาจารย์ประจำศูนย์ฯ และอาจารย์ที่รับผิดชอบ ร่วมให้คะแนน โดยแบ่งการประกวดทั้งระดับมัธยมตอนต้นและตอนปลาย ออกเป็น 2 ประเภท สวยงามกับสร้างสรรค์
นายลิขิต กล่าวว่า ด้วยโรงเรียนสตรีภูเก็ตมีวิสัยทัศน์ ข้อที่ 5 ว่า นักเรียนสามารถสื่อสารความเป็นภูเก็ตได ดังนั้นทางศูนย์สืบค้นฯ จึงจัดให้นักเรียนทุกชั้นเรียนได้ร่วมโครงการประกวดการจัดตกแต่งผลิตภัณฑ์จากอาหาร งานประเพณีพ้อต้อ (ป่ายปัว) ขึ้น เพื่อให้เรียนรู้วิธีการและสามารถนำไปขยายผลให้กับครอบครัวในการร่วมกิจกรรมประเพณีพ้อต่อ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อบำเพ็ญกุศลบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว
สำหรับประเพณีพ้อต่อจัดขึ้น เพื่อบำเพ็ญกุศลบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยเชื่อว่าวิญญาณบรรพบุรุษจะเดินทางมาเยี่ยมลูกหลานในช่วงขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ของจีน องค์พ้อต่อก๊ง ซึ่งเป็นหัวหน้าผีจะนำบริวารออกจากขุมนรก เพื่อมาเยี่ยมลูกหลานและเที่ยวบนโลกมนุษย์ ในโอกาสที่เป็นการต้อนรับวิญญาณบรรพบุรุษที่กลับมาเยี่ยมบ้าน ตลอดจนวิญญาณที่ไม่มีญาติ ดังนั้นในวันนี้จะห้ามลูกหลานออกจากบ้านหลังพลบค่ำแล้ว เพราะอาจจะเคราะห์ร้ายถูกวิญญาณที่เดินทางกลับมาทักทาย ทำให้เจ็บป่วยได้และวิญญาณเหล่านี้จะถูกทิ้งไว้ 1 เดือนแล้วจะมารับกลับในวันที่ 29 หรือวันที่ 30 เดือน 7 ตามปฏิทินจีนอันเป็นวันสุดท้ายที่ส่งวิญญาณกลับ ผู้ใหญ่ก็จะห้ามลูกหลานออกจากบ้านเช่นเดียวกัน เพราะอาจจะเคราะห์ร้ายถูกกวาดต้อนวิญญาณกลับขุมนรกด้วย
นอกจากตามบ้านจัดพิธีไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณผีที่ไม่มีญาติแล้ว ตามศาลเจ้าต่างๆ หรือบริเวณบางสถานที่จะมีพิธีเซ่นไหว้วิญาณที่ไม่มีญาติด้วย เพราะเมื่อบรรดาวิญญาณผีไม่มีญาติเดินทางกลับบ้านด้วยความหิวโหย แต่ไม่พบใคร ด้วยญาติพี่น้องตายหมด ไม่มีผู้ใดทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้อาจทำร้ายผู้คนได้ จึงจัดพิธีกรรมใหญ่โตตั้งโต๊ะบูชาบรรดาผีไม่มีญาติเหล่านั้น ประเพณีพ้อต่อในจังหวัดภูเก็ต จะจัดขึ้นในเดือน 7 ตามปฏิทินจีน
ทั้งนี้ในประเพณีพ้อต่อ จะประกอบพิธีเซ่นไหว้ อันประกอบด้วยอาหารคาว หวาน ซึ่งที่ขาดไม่ได้คือขนมเต่า ที่ปั้นขึ้นขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างตามศรัทธา รวมอยู่ในเครื่องบวงสรวงนี้ด้วยสาเหตุที่นำขนมเต่านี้มาเซ่นไหว้เพราะเพื่อระลึกถึงเต่ายักษ์ตัวหนึ่ง ซึ่งว่ายน้ำฝ่าคลื่นลมที่โหมกระหน่ำอย่างบ้าคลั่ง เพื่อไปช่วยพระถังซัมจั๋งให้รอดพ้นจากพายุ ในระหว่างเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก อีกนัยหนึ่งก็คือ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้เซ่นไหว้ เนื่องจากชาวจีนเชื่อกันว่าเต่าเป็นสัตว์อายุยืนยาว แข็งแรง ส่วนสีแดง เป็นสีแห่งความเป็นมงคล ความยินดีปรีดา และความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นการเซ่นไหว้ด้วยขนมรูปเต่าสีแดง จึงเป็นการต่ออายุให้ตนเองและยังถือเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น