เมื่อวันที่ 1 พฤกษาคม 2555 ที่ห้องประชุมโรงแรมโมเวนพิค รีสอร์ท แอนด์ สปา ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย เป็นประธานเปิดการประชุม “แม่น้ำโขงสู่ริโอ” เรื่อง การรักษาสมดุลระความความต้องการด้านอาหาร น้ำและพลังงาน
ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission หรือ MRC) เพื่อหารือแนวทางส่งเสริมให้แม่น้ำข้ามพรมแดนสามารถตอบสนองต่อความจำเป็นด้านอาหาร น้ำและพลังงานที่เพิ่มขึ้น
รวมทั้งแลกเปลี่ยนบทเรียนและแสวงหาทางแก้ปัญหาธรรมาภิบาลและการใช้ทรัพยากรน้ำร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ลดผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้น โดยมีผู้บริหารองค์กรลุ่มน้ำ 14 องค์กรทั่วโลก ตลอดจนองค์กรระหว่างรัฐบาลในระดับภูมิภาค 2 องค์กร รัฐมนตรีที่ดูแลด้านน้ำและสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่จากส่วนราชการ ผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานพัฒนา องค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทั่วโลก จำนวน 350 คน
นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักของการประชุมแม่น้ำโขงสู่ริโอ นั้น มีวัตถุประสงค์หลักในการพิจารณาแนวโน้มการใช้น้ำในปัจจุบันเพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นด้านอาหาร พลังงาน และน้ำ รวมทั้งศึกษาว่าทั้งสามภาคส่วนมีความเชื่อมโยงและมีผลกระทบซึ่งกันและกันอย่างไร
อย่างไรก็ตามนายปรีชา กล่าวด้วยว่า ในส่วนของประเทศไทยก็จะนำเสนอในเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อม พลังงานและอาหาร นอกจากนี้เนื่องจากในช่วงปลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยประสบกับปัญหาเรื่องของอุทกภัย ซึ่งก็จะได้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำของทั้งลาว กัมพูชาและเวียดนามที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำโขงด้วย โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอุทกภัย
ขณะที่นายฮานส์ กุตต์แมน หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กล่าวว่า การพัฒนาอย่างรวดเร็วในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้เพิ่มความกดดันต่อทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้ผลิตอาหารและพลังงาน ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะช่วยให้ภูมิภาคนี้สามารถเรียนรู้ประสบการณ์ของลุ่มน้ำอื่นๆ และขยายมุมมองและเพิ่มความเชี่ยวชาญเพื่อให้สามารถจัดการทรัพยากรในลุ่มน้ำโขงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหวังว่าเวทีการหารือครั้งนี้จะเป็นโอกาสเช่นเดียวกันสำหรับลุ่มน้ำอื่นๆ
ทั้งนี้การประชุมแม่น้ำโขงสู่ริโอจะมีการเสนอข้อมูลและเสริมมิติด้านน้ำให้กับการประชุมสหประชาชนชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือการประชุมริโอ+20 ซึ่งจะจัดขึ้นเดือนหน้า ณ นครริโอ เดอจาเนโร ปประเทศบราซิล โดยมีหัวข้อหลัก คือ เศรษฐกิจสีเขียวในบริบทการพัฒนาที่ยั่งยืนและการขจัดความยากจน และกรอบแนวทางเชิงสถาบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น