จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทม.ป่าตองติดประกาศห้ามใช้อาคาร



เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 20 สงหาคม 2555 นายอาจศึก เกสรศิลป์ นายช่างโยธา 4 เทศบาลเมืองป่าตอง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธา ได้นำคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขอาคารตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่อาคารมีสภาพหรืออาจมีการใช้ที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรืออาจไม่ปลอดภัยต่ออัคคีภัย หรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ หรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
โดยเจ้าของอาคารคือ บริษัท กะตะโฮลดิ้งส์ กรุ๊ป จำกัด ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 49 ซอยบางลา ถนนทวีวงศ์ ต.ป่าตอง อ.กะทู้ ภูเก็ต 


โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้ของอาคารดำเนินการแก้ไขอาคารให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน โดยในหนังสือมีข้อความแนบท้ายคือ ห้ามใช้อาคารทั้งหมด พร้อมทั้งจัดให้มีสิ่งป้องกันวัสดุร่วงหล่น หรือการพังทลายของอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ และจัดให้มีการตรวจสอบความมั่นคง แข็งแรง โดยสถาบันที่เชื่อได้เป็นผู้รับรอง และรายงานผลให้เทศบาลทราบต่อไป 


จากนั้นโดยในช่วงบ่าย นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย พ.ต.ท.ดร.บันฑิต ประดับสุขประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยในงานสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามแห่งประเทศในพระบรมราชูปภัมภ์ พ.ต.อ.จิระภัทร โพธิ์ชนะพันธ์ ผกก.สภ.กะทู้ นายอำเภอกะทู้ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนหนึ่ง ได้ร่วมกันตรวจสอบอาคารที่เกิดเหตุ 


ซึ่งพ.ต.ท.ดร.บันฑิต ประดับสุข ได้กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่าอาคารดังกล่าวก่อสร้างมาเมื่อประมาณ 15 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งตรวจสอบพบทางหนีไฟ ถังดับเพลิง มีป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน จำนวน 8 จุด ส่วนความกว้างของทางหนีไฟ ต้องกลับไปคำนวณภายหลัง ว่าถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ในส่วนของวัสดุในอดีตเราไม่มีกฎหมายควบคุมดูแลเรื่องวัสดุที่นำมาก่อสร้าง เช่นวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง สถานที่ดังกล่าวมีการนำโฟมมาใช้เป็นอุปกรณ์ก่อสร้างประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ก็เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี เช่นเดียวกับที่เกิดเหตุที่ซานติก้า ผับ ที่กรุงเทพมหานคร นอกจากนั้นส่วนที่เหลือในการก่อสร้างก็เป็นซีเมนต์ตกแต่ง 



พ.ต.ท.ดร.บันฑิต กล่าวอีกว่า หลังจากที่เกิดเหตุลักษณะเดียวกันที่ซานติก้าผับ ก็มีการออกฎหมายมาบังคับเป็นกฎกระทรวง บังคับใช้ตั้งแต่เดือนก.ค. ปี 2555กฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อบังคับสถานบริการโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นเรื่องทางออก ขนาดความกว้าง การใช้วัสดุระบบดับเพลิงและระบบบริหารจัดการ ซึ่งอาคารดังกล่าวก็ได้มาตรฐานระดับหนึ่ง แต่การบริหารนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งเช่นในต่างประเทศสถานบริการเขาบังคับจำนวนคนที่เข้าไปใช้บริการหากเต็มความจุเช่นรับผู้บริการได้เพียง 100 คน หากใครมาหลังจากคนที่ 100 ก็ต้องรอคิวไปก่อน 


อย่างไรก็ตามจากโครงสร้างความเสียหายทั้งหมด พบว่าบริเวณชั้น 2 และชั้นลอย ต้องทุบทำลายทิ้ง เพราะพบร่องรอยต่อเติม และเหล็กเมื่อโดนความร้อนนานๆ ก็จะเปลี่ยนสภาพ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะส่งมอบเป็นหลักฐานให้กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเก็บเป็นลักษณะกรณีศึกษา ในการปรับปรุงกฎหมาย และออกแบบอาคาร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น