จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

“ภูเก็ตไข่มุก” รับมาตรฐาน GI เจ้าแรก

“ภูเก็ตไข่มุก” รับมาตรฐาน GI เจ้าแรก 
สร้างความเชื่อมั่น-ศักยภาพการแข่งขัน 


บริษัท ภูเก็ตเพิร์ล อินดัสทรี จำกัด หรือ “ภูเก็ตไข่มุก” โดย นายอมร อินทรเจริญ ประธานกรรมการบริหาร ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากไข่มุกน้ำเค็มครบวงจรเจ้าแรกของจังหวัดภูเก็ต ได้ยื่นขอตรวจฟาร์มเป็นบริษัทแรก และได้เข้ารับการตรวจประเมินฟาร์ม เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2560 ภายหลังจากมติในการประชุมรับรองผลการตรวจประเมินมาตรฐานสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สินค้ามุกภูเก็ต โครงการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทยเข้มแข็งสู่สากล 


กำหนดให้มุกภูเก็ตเป็น GI เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา และทางคณะกรรมการระดับจังหวัดฯ ได้รับรองผลการประเมินให้ผ่านการยื่นขอใช้ตราสัญลักษณ์ GI ให้เป็นไปตามผลการประเมินของคณะกรรมการระดับพื้นที่ ซึ่งถือเป็นอีกก้าวความสำเร็จของบริษัทที่เป็นคนท้องถิ่นอย่างแท้จริง 


สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (geographical indication) เป็นชื่อหรือสัญลักษณ์เฉพาะที่ใช้บนผลิตภัณฑ์หรือสิ่งที่อิงไปถึงตำแหน่งหรือจุดเริ่มต้นทางภูมิศาสตร์ (เช่นเมือง ภูมิภาค หรือประเทศ) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อาจจะใช้เป็นมาตราวัดคุณภาพของสิ่งบางสิ่ง หรือมีชื่อเสียงในทางใดทางหนึ่ง โดยมีผลมาจากจุดกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของสิ่งนั้น ปัจจุบันกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยแล้ว 67 สินค้า ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร (Agricultural Based Products) 


และสินค้าหัตถกรรมที่ผู้ผลิตในชุมชนได้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและลักษณะพิเศษที่เป็นผลมาจากปัจจัยธรรมชาติสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของแหล่งผลิตผสมผสานเข้ากับภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ที่สั่งสมกันมาจนมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานทั่วไป การใช้ชื่อแหล่งภูมิศาสตร์กับสินค้านี้เปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ของชุมชนที่บ่งบอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นในด้านคุณภาพ กระบวนการผลิต และแหล่งที่มาของสินค้าชุมชนเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง 


จากนโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการเพิ่มขีดความ สามารถของผู้ประกอบการไทยทุกระดับ ให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างรายได้ให้เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย โดยการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy) มุ่งเน้นการสร้างการเจริญเติบโตจากภายในประเทศ ส่งเสริมการค้าการลงทุนภายในท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง บูรณาการกับหน่วยงานที่มีส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่น (Local Tourism) มีความสามารถในการแข่งขันที่จะผลักดันให้สินค้า GI ไทยเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าชุมชนอย่างยั่งยืน 


ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาล การสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ จึงได้จัดทำ โครงการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทยเข้มแข็งสู่สากล เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ เกษตรกร และชุมชนต่างๆ เล็งเห็นความสำคัญของการจัดทำระบบควบคุมตรวจสอบสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว เพื่อให้กระบวนการผลิตสินค้า GI ของไทยได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สามารถติดตราสัญลักษณ์ GI ไทย 


ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของสินค้าไทย ขณะเดียวกันก็จะช่วยให้สินค้า GI ไทยสามารถสร้างเรื่องราว (Story) ที่จะบ่งบอกถึงความแตกต่างเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ชื่อเสียง และแหล่งผลิตช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ชุมชนและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และต่อยอดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้สินค้า GI ไทยได้มาตรฐานสามารถส่งออกได้ด้วย 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น