เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 นายแพทย์ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วยนายแพทย์เอนก
มุ่งอ้อมกลาง ผู้อำนวยสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, แพทย์หญิงศิริลักษณ์
ไทยเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11
นครศรีธรรมราช และคณะลงพื้นที่ อาคาร X-Terminal ท่าอากาศยานภูเก็ต
เพื่อประเมินความพร้อมขั้นตอนกระบวนการเก็บสิ่งส่งตรวจและปฏิบัติการชีวโมเลกุล
ระบบควบคุมความปลอดภัยด้วยแรงดันลบ
ตลอดจนการเคลื่อนย้ายรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย
พระราชทาน จำนวน 3 คัน
จากจังหวัดนครศรีธรรมราชมาไว้ที่สนามบินภูเก็ต
เพื่อเตรียมความพร้อมรับผู้โดยสารเดินทางระหว่างประเทศที่จะเดินทางเข้ามาในจังหวัดภูเก็ต
โอกาสนี้ยังได้ตรวจความพร้อมภายในอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศสนามบินภูเก็ต
ซึ่งเป็นจุดแรกรับนักท่องเที่ยวหลังลงจากเครื่องบิน
ตลอดจนการตรวจความพร้อมของบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการตรวจหาเชื้อโควิค-19 ด้วย
นายแพทย์ขจรศักดิ์ แก้วจรัส
รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงจังหวัดภูเก็ต
จะได้รับการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ซักประวัติ ลงทะเบียน และส่งตัวไปตรวจโควิด-19 ที่ห้องเก็บสิ่งส่งตรวจฯ
ซึ่งสามารถรองรับการตรวจได้รอบละ 96 ตัวอย่าง
ใช้เวลาตรวจทางห้องปฏิบัติการฯ ประมาณ 3 ชั่วโมง
จะทราบผลทันที จากนั้นจะส่งผลการตรวจไปยังคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
คาดว่าจะรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 500 คนต่อวัน
ซึ่งห้องปฏิบัติการฯ จะได้รับการตรวจรับรองมาตรฐานโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
หลังจากเก็บตัวอย่างแล้ว
รถโรงแรมจะรับนักท่องเที่ยวไปส่งที่พัก ALQ
(Alternative Local Quarantine) ซึ่งเป็นสถานกักตัวระดับจังหวัดที่นักท่องเที่ยวเลือกและผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ซึ่งหลังจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาผ่านกักตัว ALQ ผลที่ออกจะต้องมีความปลอดภัย
100 เปอร์เซ็นต์ ก่อนที่จะเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ
ในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งประชาชนสามารถมั่นใจ ถึงระบบแล็บตรวจโควิด-19 ว่าประสิทธิภาพการคัดกรองของเจ้าหน้าที่อย่างแน่นอน
ขณะนี้ภูเก็ตมีการเตรียมความพร้อมแล้วเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุข
เครื่องมืออุปกรณ์การตรวจหาเชื้อโควิค-19ซึ่ง ทั้งในส่วนของห้องปฏิบัติการที่ติดตั้งอย่างถาวรบริเวณสนามบินภูเก็ต
และรถเคลื่อนที่พระราชทานจำนวน 3 คันที่เข้ามาช่วยเสริมทัพ
ขณะเดียวกัน โรงแรมซึ่งนับเป็นสถานที่ในการกักตัวนักท่องเที่ยว 14 วันหรือ ALQ และ ASQขณะนี้ก็มีความพร้อมและมีจำนวนมากพอที่จะรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาแล้วเช่นเดียวกัน
นายแพทย์ขจรศักดิ์กล่าว
ทางด้านนายแพทย์เอนก มุ่งอ้อมกลาง
ผู้อำนวยสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
กล่าวเพิ่มเติมในส่วนของรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทานว่า มีประสิทธิภาพในการตรวจ
และมีระบบสารสนเทศที่ทันสมัย
ภายในห้องเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยจัดเป็นห้องปลอดเชื้อที่มีระบบปรับอากาศเพื่อควบคุมความเย็น
ระบบกรองอากาศจากภายนอกเพื่อให้บริสุทธิ์
ระบบและอุปกรณ์ควบคุมความดันภายในห้องให้เป็นบวกตลอดเวลา
รวมทั้งในการปฏิบัติการเก็บตัวอย่าง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสอดมือผ่านหน้าต่างและถุงมือยางที่ติดตั้งไว้
พร้อมทั้งมีระบบขจัดเชื้อภายในตัวรถ หลังปฏิบัติงานรายวันด้วยระบบโอโซน
และติดตั้งระบบไมโครโฟน
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกับผู้รับบริการได้สะดวกและรวดเร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น