เมื่อเวลา 08.00 น.วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 ที่บริเวณด้านหน้าอาคารฉลองราชกุมารี โรงเรียนสตรีภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต ตัวแทนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียน ห้องเรียนละ 5 คน จากจำนวน 60 ห้องเรียน ร่วมประกวดจัดตั้งโต๊ะไหว้เทวดา ซึ่งศูนย์สืบค้นและเผยแพร่ข้อมูลบาบ๋าภูเก็ต โรงเรียนสตรีภูเก็ตจัดขึ้น โดยมีนายบัณฑูร ทองตัน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสตรีภูเก็ต นายเกียรติศักดิ์ ปิลวาสน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีภูเก็ต แขกผู้มีเกียรติ คณะครู อาจารย์ และนักเรียนของชั้นเรียนต่างๆ เข้าร่วม
นางสาวดวงกมล เอช ครูที่ปรึกษาศูนย์สืบค้นและเผยแพร่ข้อมูลบาบ๋าภูเก็ต โรงเรียนสตรีภูเก็ต กล่าวว่า ด้วยสำนักศิลปากรที่ 15 จังหวัดภูเก็ต ได้มีหนังสือแจ้งให้โรงเรียนสตรีภูเก็ตได้มีส่วนช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนที่อยู่ใกล้โรงเรียน ดังนั้นฝ่ายธุรการโรงเรียนสตรีภูเก็ตในฐานะหน่วยงานสนับสนุนจึงได้จัดทำศูนย์สืบค้นและเผยแพร่ข้อมูลบาบ๋าภูเก็ตขึ้น โดยมีพิธีเปิดศูนย์ฯ ไปแล้วเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2552 ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนช่วยสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นภูเก็ต ประกอบวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ในข้อ 5 กล่าวว่านักเรียนสามารถสื่อสารความเป็นภูเก็ตได จึงจัดให้นักเรียนทุกชั้นเรียนได้ร่วมประกวดการจัดโต๊ะไหว้เทวดา เพื่อให้เรียนรู้วิธีการและสามารถนำไปขยายผลให้กับครอบครัวในการร่วมกิจกรรมประเพณีไหว้เทวดาของชาวจีนบาบ๋าภูเก็ต ในช่วงเทศกาลตรุษจีน (วันโช้ยเก้า)
“การจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น เนื่องจากปัจจุบันหากเราไม่อนุรักษ์ วัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ก็จะสูญหายไปกับกาลเวลา ที่ผ่านมาศูนย์ฯ บาบ๋าภูเก็ต ได้มีการกิจกรรมการแสดงละครความเป็นมาของคำว่าบาบ๋า เพื่อให้รับรู้ว่าบาบ๋า คือ คนภายนอกที่เข้ามาแต่งงานกับคนท้องถิ่นภูเก็ต กิจกรรมการตั้งโต๊ะไหว้ขบวนแห่พระในงานประเพณีถือศีลกินผัก นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมป่ายปั๋ว ที่ตั้งของไหว้ในโอกาสที่โรงเรียนสตรีภูเก็ตครบ 100 ปี และการประกวดจัดตั้งโต๊ะไหว้เทวดา ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการประกวดแล้วก็จะได้ส่งจานไปให้ศาลเจ้า (อ๊าม) ต่างๆ เพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าจะมีคนช่วยสืบสานประเพณีแล้ว”
นางสาวดวงกมล กล่าวว่า หลังจากนี้ก็จะได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้มีส่วนร่วมกับท้องถิ่นในการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นอย่างแท้จริง โดยใช้ศูนย์ฯ บาบ๋า ของเป็นศูนย์เผยแพร่ข้อมูล ซึ่งนอกจากนักเรียนจะได้เรียนรู้แล้วยังสามารถที่นำข้อมูลที่จะได้เป็นผู้เผยแพร่ รวมถึงการนำไปปฏิบัติด้วย ส่วนกิจกรรมอื่นๆ ที่จะเกิดต่อไปนั้นก็สลับสับเปลี่ยนรูปแบบหรือพิธีกรรมอื่นๆ ของการไหว้เทวดาหรือเทศกาลตรุษจีน เช่น แข่งขันพับกระดาษที่ใช้ประกอบพิธีกรรม การแข่งขันกันฉลุลาย เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น