จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กรมเจรจาฯ จับมือสภาหอการค้า ลงใต้กระตุ้นผู้ประกอบการ SMEs

 

ที่โรงแรมเมโทรโพล อ.เมือง จ.ภูเก็ต นางสาวพูลศรี คุลีเมฆิน นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานเปิดงานสัมมนา เรื่อง โอกาสทางการค้าสินค้า บริการและการลงทุนของผู้ประกอบการ SMEs กับการเป็น AEC : ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดขึ้น โดยมีสมาชิกหอการค้าในพื้นที่ภาคใต้ ผู้ประกอบการ และผู้สนใจเข้าร่วม

นางสาวพูลศรี คุลีเมฆิน นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมเจรจาการค้าระหว่งประเทศ และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เกี่ยวกับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community-AEC) ภายในปี 2558 ตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ซึ่งจะมีผลให้อาเซียนกลายเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้านสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี รวมทั้งการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้อย่างเสรีมากขึ้น ผู้บริโภคจะมีโอกาสเข้าถึงสินค้าและบริการที่หลากหลาย ขณะที่ผู้ผลิตสามารถแสวงหาวัตถุดิบที่ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ขยายฐานการผลิตไปยังประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นโอกาสการขยายตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน ในตลาดอาเซียนด้วยกันถึง 10 ประเทศ ที่มีประชาชนรวมกันกว่า 850 คน

ในการนี้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจเรื่อง ความร่วมมือในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาอาเซียนไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานของการเป็นพันธมิตรระยะยาว และเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ โดยร่วมกันจัดสัมมนา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การเตรียมการรองรับปรับตัว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ประกอบการไทย ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยตระหนัก เข้าใจและเรียนรู้วิธีการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงทางการค้า โดยการขยายฐานการผลิต การสร้างพันธมิตร และขยายตลาดสินค้าและบริการในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ต่อยอดมาจากการเปิดเสรีการค้าภายใต้ AFTA นับตั้งแต่ปี 2536

โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ยกเลิกภาษีสินค้า 8,000 กว่ารายการ เป็นร้อยละศูนย์ และในอีก 6 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2558 สมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ ได้แก่กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนามจะลดภาษีทุกรายการเป็นร้อยละศูนย์ และสามารถยืดหยุ่นในบางรายการได้ถึงปี 2561 นอกจากนี้จะมีการยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เพื่ออำนวยความสะดวกให้การค้ามีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นอีกด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น