จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ยกร่างพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตย์น้ำของโลก

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2553 ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเมอเวนพิค รีสอรท์ แอนด์สปา ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต องค์กรภาคการประมง ได้แก่ กรมประมง องค์การเครือข่ายงานศูนย์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งเอเชียแปซิฟิก (NACA) และองค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) ร่วมกันจัดการประชุมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระดับโลก “Global Conference On Aquaculture 2010” โดยมีนายธรรมรัตน์ หวั่งหลี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดการประชุม นอกจากนี้ยังมี ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมการประมง นายศุภชัย โพชนุกูล นายอำเภอเมืองภูเก็ต ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนักวิชาการ ผู้บริหาร ที่เกี่ยวข้องทั้งชาวไทยและต่างประเทศจากทุกภูมิภาคทั่วโลกเข้าร่วม

สำหรับการจัดสัมมนาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนสถานะปัจจุบัน และแนวโน้มการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของทั้ง 6 ภูมิภาคทั่วโลก โยจะมีการประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินการตามปฏิญญาและยุทธศาสตร์กรุงเทพว่าด้วยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งหารือถึงประเด็นใหม่ๆ ของการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประเมินโอกาสความท้าทายของการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในอนาคต ซึ่งจะเป็นการสร้างความร่วมมือกันในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นภาคการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและแข่งขันได้ในระดับโลก

ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอุตสาหกรรมการผลิตอาหารที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศทางแถบเอเชียและอเมริกาใต้ที่เพิ่มขึ้นกว่า 1 ใน 3 นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โดยปัจจุบันกว่า 40% ของสัตว์น้ำทั่วโลกที่มนุษย์บริโภค เช่น ปลา ปู กุ้ง หอย เป็นต้น ได้มาจากการเพาะเลี้ยง จึงทำให้แนวโน้มของอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วโลกมีการขยายตัวต่อเนื่อง ในส่วนของประเทศไทยสามารถผลิตสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงได้อยู่ในอันดับ 5 ของโลก โดยมีปริมาณผลผลิตรวมทั้งสิ้น 1.38 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 78,023 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามในอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องนั้น อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วโลกยังคงประสบปัญหาต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม โรคระบาด ภัยธรรมชาติ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเกิดความมั่นคง และเป็นแหล่งผลิตอาหารที่ยั่งยืนให้แก่ผู้คนทั่วโลก จึงต้องมีการกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความเหมาะสม และเวทีการประชุมครั้งนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะช่วยผลักดันให้เกิดยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ดร.สมหญิงกล่าว
สำหรับเนื้อหาของการสัมมนา ประกอบด้วย ทรัพยากรและเทคโนโลยีเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในอนาคต การควบคุมและบริหารจัดการ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม การตอบสนองต่อความต้องการของตลาด พัฒนาความรู้ ข้อมูล งานวิจัย การส่งเสริม การสื่อสาร ยกระดับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีส่วนต่อความมั่นคงอาหาร ขจัดความยากจน และการพัฒนาชนบท ทั้งนี้เป้าหมายที่สำคัญของการสัมมนา คือ การร่วมกันยกร่างฉันทามติและยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของโลกสำหรับทศวรรษหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น