จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

กก.ปฏิรูปที่ดินภูเก็ตเสนอให้เกษตรกรสิ้นสิทธิ


เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 2/2553 โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ปฏิรูปที่ดินจังหวัดภูเก็ต ธนารักษ์พื้นที่ภูเก็ต ตัวแทนภาคเกษตรกร เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อแจ้งให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ แนวทางในการดำเนินการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังลม และแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรผู้ไร้ที่ดินทำกิน นอกจากนี้ยังได้มีการพิจารณาการสั่งให้เกษตรกรสิ้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน รายนายณรงค์ เทวคุปต์ และพิจารณากรณีราษฎรชุมชนพระบารมีซอย 8 ต.ป่าตอง อ.กะทู้ ขอใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดภูเก็ต ที่ดินแปลงเลขที่ 1 กลุ่มที่ 358 เนื้อที่ ที่ตั้งที่ดิน หมู่ที่ 6 ต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

สำหรับกรณีการสั่งให้เกษตรกรสิ้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินรายนายณรงค์ เทวคุปต์ โครงการปฏิรูปที่ดินป่าเทือกเขานาคเกิด ที่ดิน ส.ป.ก.แปลงที่ 4 กลุ่มที่ 41 สารบัญทะเบียนที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เลขที่ 138 เล่ม 2 หน้า 38 เนื้อที่ประมาณ 21-0-12 ไร่ ที่ดินตั้งอยู่ท้องที่ ต.ราไวย์ อ.เมืองภูเก็ต ซึ่งจากการแต่งตั้งคณะอนุกรรมฯพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงและตรวจสอบพื้นที่ เพื่อสรุปคำชี้แจง ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย เสนอคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดภูเก็ต (คปจ.ภูเก็ต) พบว่าที่ดินแปลงดังกล่าวบางส่วนประมาณ 4-5 ถูกนำไปใช้ในการทำเป็นปางช้างและบริการรถวิบาก หรือรถเอทีวี มีการปลูกสร้างอาคาร และบริเวณที่ประกอบการมีการปลูกยาง 2 รุ่น ยางรุ่นแรกอายุ ประมาณ 1-2 ปี ส่วนยางรุ่นที่ 2 อายุไม่เกิน 1 ปี และมีต้นยางน้อยไม่เต็มพื้นที่ และมีการเลี้ยงช้างในปาง 7 เชือก เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวสอบถามผู้ดูแลปางช้างให้รายละเอียดกับคณะอนุกรรมการฯ ว่าเป็นการประกอบการร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการกับเจ้าของที่ดินเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับร่วมกัน

จากการพิจารณาอย่างละเอียดของอนุกรรมการฯ จึงมีมติเห็นควรมีคำสั่งให้นายณรงค์ เทวคุปต์ สิ้นสินในการเข้าทำประโยชน์ ด้วยการทำธุรกิจปางยางและให้บริการรถเอทีวีไม่ใช่การทำเกษตรกรรม และไม่เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดิน ส่วนที่มีการปลูกยางพาราก็ดำเนินการหลังจากทาง ส.ป.ก.แจ้งเตือน และเป็นการปลูกเพื่อแสดงให้เห็นว่ายังมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และการเลี้ยงช้างของเกษตรกรรายนี้ไม่ใช่การประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามความเห็นของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ และรายได้หลักก็ไม่ได้มาจากการทำเกษตรกรรมแต่มาจากการบริการนักท่องเที่ยว รวมไปถึงการให้ผู้อื่นมาประกอบธุรกิจนำเที่ยวในแปลงที่ดินและแบ่งผลประโยชน์กัน ถือว่าเกษตรกรไม่ทำประโยชน์เต็มความสามารถ เป็นการฝ่าฝืนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540 ข้อ 7 (1) และยังเรื่องของการปลูกสร้างอาคารอีกหลายหลัง เป็นการฝ่าฝืนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540 ข้อ 7 (5)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น