จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศูนย์เตือนภัย ให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่ป่าตอง


เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 ที่โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงศ์ เทศบาลเมืองป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภัยสึนามิในพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภัยต่างๆ โดยเฉพาะภัยสึนามิ รวมทั้งการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แก่ครู นักเรียนโรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงศ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่หาดป่าตอง

นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวถึงการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภัยสึนามิในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ว่า จากเหตุการณ์ภัยสึนามิถล่มเมื่อปี2547 ที่ผ่านมาประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียได้รับผลกระทบได้รับความเสียหายมากที่สุด และเหตุการณ์ในครั้งนั้นส่งผลให้เกิดการริเริ่มโครงการต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคหลายโครงการเพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการรับรู้ และเรียนรู้การเตรียมความพร้อมรับมือภัยสึนามิ รวมทั้งโครงการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เพื่อให้ครู นักเรียน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชนในพื้นที่ฝั่งอันดามันที่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยธรรมชาติ จากสื่อการเรียนรู้ต่างๆที่เกิดจากความร่วมมือ ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติในฐานะหน่วยงานกลางด้านข้อมูลข่าวสารภัยพิบัติทางธรรมชาติ และมีภารกิจหลักในการแจ้งเตือนภัยของประเทศไทย กับองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย หรือ UNESCO ได้เริ่มโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภัยสึนามิ ขึ้นเพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับสึนามิ

รวมทั้งเพื่อรวบรวมอุปกรณ์ เครื่องมือ เอกสารที่ใช้ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสึนามิมาบูรณาการเพื่อที่แต่ละประเทศจะได้พิจารณานำเอาสิ่งดีๆเหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่ของแต่ละประเทศนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และนำเสนอในแบบของภาษานั้น โดยประเทศที่เข้าร่วมดำเนินงานโครงการนี้มีทั้งสิ้น 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ติมอร์เลสเต้ และไทย

ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยังได้กล่าวถึงกรณีข่าวลือการเกิดสึนามิในประเทศไทย ว่า ข่าวลือที่เกิดขึ้นไม่เป็นความจริง และขอยืนยันว่าทางศูนย์ฯ มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจะเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ร่วมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนเพื่อที่จะทำให้พื้นที่เสียงภัยเป็นพื้นที่ปลอดภัน แต่ สิ่งสำคัญที่สุดคือประชาชนต้องวิเคราะห์ และใช้วิจารณญาณในการรับทราบข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ ซึ่งจะต้องทำควบคู่กับการติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวด้านภัยพิบัติจากกรมอุตุนิยมวิทยา และศูนย์เตือนภัยอย่างใกล้ชิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น