จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เสริมสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพ


เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2554 ที่ห้องพระพิทักษ์แกรนด์บอลรูม โรงแรมเมโทรโพล อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายแพทย์ศักดิ์ แท่นชัยสกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ. สต.) จังหวัดภูเก็ต โดยมีนายแพทย์เกษม เวชสุทธานนท์ ผู้อำนวยการสำนักประสานงานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, ดร.ประพรศรี นรินทร์รักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สาธารณสุขสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต นางสุธิมา สงวนศักดิ์ สำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตลอดจนคณะกรรมการพัฒนา รพ. สต. ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง หน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมจำนวนกว่า 200 คน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ และคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.ตลอดจนร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ และแผนความต้องการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทของชุมชนเป็นฐาน
ดร.ประพรศรี กล่าวว่า สืบเนื่องจากนโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐบาลที่มุ่งเน้นในการปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยการยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เปลี่ยนจากเน้นงานรักษาพยาบาลแบบตั้งรับมาเป็นการดำเนินงานเชิงรุกโดยการส่งเสริมให้มีการสร้างสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน ซึ่งจะมีผลทำให้ระบบบริการสุขภาพในภาพรวมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดปริมาณผู้ป่วยที่ไปใช้บริการที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ลง รวมถึงลดภาวะค่าใช้จ่ายของประชาชนและประหยัดงบประมาณของชาติในระยะยาว และมีนโยบายพัฒนาคุณภาพและบริการ ตามนโยบายโรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่ เพื่อคนไทยดี มีรอยยิ้ม (รพ.3 ดี) คือ บรรยากาศดี บริการดีและบริหารจัดการดี เพื่อให้เกิดมาตรฐานและบริการด่านหน้าเป็นประทับใจของประชาชน ลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ทั้งนี้จังหวัดภูเก็ตได้ยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งสุขภาพตำบล ในปีงบประมาณ 2553 จำนวน 6 แห่ง และขยายเต็มพื้นที่จังหวัดในปีงบประมาณ 2554 รวมทั้งสิ้น จำนวน 21 แห่ง
ขณะที่นายแพทย์ศักดิ์ กล่าวว่า โรงพยาบาลส่งสุขภาพตำบลจังหวัดภูเก็ตมีความก้าวหน้ามาเป็นลำดับ และได้มีการขับเคลื่อนนโยบาย 3 ดี นโยบายเรื่องการสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพโดยมีส่วนร่วมจากชุมชน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน ซึ่งเน้นการพัฒนาระบบคุณภาพการให้บริการ ในหน่วยบริการที่เป็นปราการด่านหน้า เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพให้ประชาชน สามารถดูแลสุขภาพตนเองทางสุขภาพได้ในที่สุด
ในโอกาสเดียวกันนี้ยังได้มีการมอบโล่รางวัลแก่ท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และอำเภอที่มีผลงานดีเด่น ประกอบด้วย รางวัลท้องถิ่นดีเด่นด้านมีส่วนร่วมสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพ จำนวน 8 แห่ง, รางวัลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 4 แห่ง, รางวัลโรงพยาบาลยุคใหม่เพื่อคนไทยสุขภาพดีและมีรอยยิ้ม ระดับ The Best จำนวน 11 แห่ง และรางวัลโรงพยาบาลอำเภอต้นแบบสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพด้วยกระบวนการจัดการเรียนโดยใช้บริบทชุมชนเป็นฐาน จำนวน 1 แห่งด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น