จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

“สืบสาน เล่าขาน ภูมิปัญญาชาวราไวย์”


เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2554 ที่ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ วัดสว่างอารมณ์ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายอรุณ โสฬส นายกเทศมนตรีตำบลราไวย์ พร้อมด้วยนายยงยุทธ โสตถิอุดม ผู้จัดการศูนย์ 3 วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ตในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศม์ พระวรชายาฯ นายวีระ กาวิเศษ ประธานคณะทำงานภาคประชาชนศูนย์ 3 วัยฯ ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงาน “สืบสาน เล่าขาน ภูมิปัญญาชาวราไวย์” ครั้งที่ 4 ซึ่งทางเทศบาลตำบลราไวย์ ร่วมกับศูนย์ 3 วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว ตำบลราไวย์ฯ ร่วมกันกำหนดจัดขึ้น ในวันที่ 24 มิถุนายนนี้ ระหว่าเวลา 09.00 – 15.00 น. บริเวณลานวัดสว่างอารมณ์ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต
สำหรับการจัดงานดังกล่าว สืบเนื่องจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จัดตั้งศูนย์ 3 วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว ขึ้นในพื้นที่ตำบลราไวย์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของสมาชิกในครอบครัว โดยเน้นความต่อเนื่องและเชื่อมโยงเป็นวงจรของคนทุกช่วงวัยให้อยู่ร่วมกันในครอบครัว ชุมชน และสังคม ด้วยสายใยรักที่รักใคร่ กลมเกลียวมีความเอื้ออาทรต่อกันอันจะก่อให้เกิดความยั่งยืน และจะเป็นรากฐานที่สำคัญต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
โดยยึดแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ฯ คือ เตรียมพร้อมก่อนครองคู่ เรียนรู้ร่วมกันในครรภ์ คิดสร้างสรรค์แต่เยาว์วัย ครอบครัวเสริมกายใจ ผู้สูงวัยสานใยรัก ซึ่งได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ นอกจากการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ของผู้สูงอายุแล้ว ผู้สูงอายุหลายคนที่มีความรู้ ความสามารถ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาส่วนตัว และหากไม่ได้รับการฟื้นฟู หรือถ่ายทอดสู่อีกรุ่นหนึ่ง ภูมิปัญญาต่างๆที่สั่งสมอยู่กับผู้สูงอายุก็จะสูญหายไป
ทางศูนย์ 3 วัยฯ จึงจัดงานสืบสาน เล่าขาน ภูมิปัญญาชาวราไวย์ ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วม และทำประโยชน์ต่อสังคม โดยรวบรวมและคัดเลือกภูมิปัญญา ความรู้ของผู้สูงอายุที่มีความสามารถทางด้านต่างๆ เพื่อนำมาถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง ซึ่งตำบลราไวย์ เป็นพื้นที่ที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็น “ของดีที่มีอยู่ในชุมชน” จำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นและสังคมของตนเอง
อย่างไรก็ตามการจัดงานสืบสาน เล่าขาน ภูมิปัญญาชาวราไวย์ มีกิจกรรมการจัดนิทรรศการ การถ่ายทอด การสาธิตภูมิปัญญาด้านต่างๆ การจำลองการใช้ชีวิตของคนภูเก็ตในอดีต จนถึงปัจจุบัน ทั้งภูมิปัญญาวิถีชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิมและชาวไทยใหม่ อาทิ การสาธิตกวนกาละแมต้นรับของชาวราไวย์ การสาธิตการทำศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน สาธิตการทำอาหาร เช่น น้ำพริกหยำ เกลือเคย ข้าวยำภูเก็ตสูตรโบราณ การแฟโบราณ ขนมจาก การรำวงย้อนยุค การรำรองเง็ง มวยกาหลง วิถีชีวิตชาวประมง การทำข้าวหมก การเล่นสะบ้า การสาธิตดำนา เป็นต้น โดยมีการจัดประกวดการแต่งกายพื้นเมืองของชาวราไวย์ของผู้ที่มาร่วมงานด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น