เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2555 ที่ห้องจามจุรี 1 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการอบรม “เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผู้เกี่ยวข้องยาเสพติดกลับสู่ครอบครัว” ตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ 2555
ซึ่งทางสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดภูเก็ตและคณะอนุกรรมการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดจังหวัดภูเก็ตจัดขึ้น โดยมีสมาชิกครอบครัวกลุ่มเสี่ยงซึ่งเป็นสมาชิกที่เคยเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในจังหวัดภูเก็ต จากสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมจำนวน 180 คน
ซึ่งทางสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดภูเก็ตและคณะอนุกรรมการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดจังหวัดภูเก็ตจัดขึ้น โดยมีสมาชิกครอบครัวกลุ่มเสี่ยงซึ่งเป็นสมาชิกที่เคยเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในจังหวัดภูเก็ต จากสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมจำนวน 180 คน
นายกิตติ อินทรกุล หัวหน้ากลุ่มนโยบายและวิชาการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต (พมจ.ภูเก็ต) กล่าวว่า เพราะจากสถานการณ์ปัจจุบันยาเสพติดได้กลับมาแพร่ระบาดค่อนข้างรุนแรงอีกครั้ง และนับเป็นภัยอันใหญ่หลวงสำหรับเยาวชนกลุ่มเสี่ยง โดยสาเหตุของปัญหามาจากความอ่อนแอของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในครอบครัวให้มากกว่าเดิม
“การจัดกิจกรรมการอบรมเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดกลับสู่ครอบครัว เพื่อ สนองตอบนโยบายของรัฐบาลและจังหวัดภูเก็ตในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในครอบครัว ให้สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในครอบครัวได้รู้ทักษะในการดูแลป้องกัน และเฝ้าระวังไม่ให้สมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีบุตรหลานหรือสมาชิกเคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การให้บุตรหลานที่เป็นวัยรุ่นเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองในครอบครัว เพื่อเป็นเกราะป้องกันภัยยาเสพติดในครอบครัว” นายกิตติกล่าว
ขณะที่ น.ส.สมหมาย กล่าวว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่มีความซับซ้อนและมีผลโดยตรงต่อตัวผู้เสพเอง รวมทั้งยังส่งผลต่อผู้ใกล้ชิดและสังคม ประเทศชาติ นำมาซึ่งความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ปัญหายาเสพติดไม่ใช่ปัญหาเฉพาะคนใดคนหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นปัญหาของทุกคนในสังคม ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชนที่จะต้องร่วมมือกันป้องกันและแก้ไข เนื่องจากปัจจุบันปัญหายาเสพติดมีแนวโน้มของความรุนแรงและการขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงระบบของระบบเศรษฐกิจและสังคมยุคพัฒนา แม้ว่าหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ดำเนินการเร่งแก้ไขและปราบปรามอย่างต่อเนื่อง
แต่ปัญหาก็ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากสถิติการจับกุมทั้งคดีจำหน่ายและคดีเสพยาเสพติด ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 15-25 ปี เป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มคนว่างงาน นักท่องเที่ยว หญิงบริการ แรงงานต่างด้าว และกลุ่มวัยรุ่น ทั้งนักเรียนนักศึกษา ซึ่งเป็นเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญในการแก้ไขและป้องกัน โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว เนื่องจากเป็นหน่วยพื้นฐานของสังคม และสามารถเป็นเกราะภูมิคุ้มกันในการป้องกันยาเสพติดให้กับสมาชิกในครอบครัวได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น