จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กปภ. ศึกษานำน้ำจากเขื่อนรัชชประภามายังภูเก็ต



เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556 ที่ห้องประชุมชั้น 12 โรงแรมเพิร์ล อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 “โครงการศึกษาความเหมาะสมในการลงทุน โครงการวางท่อส่งน้ำดิบจากเขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี ไปเกาะภูเก็ต” 


ซึ่งการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท โปรเกรส เทคโนโลยี คอนซัลแท็นส์ จำกัด ศึกษาความเหมาะสมในการลงทุนโครงการวางท่อส่งน้ำจากเขื่อนรัชชประภา หรือแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียงที่มีศักยภาพเพียงพอไปยังเกาะภูเก็ต 


โดยมีนายสมเกียรติ ภิริยะกากูล รองผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาค นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายเทศมนตรีนครภูเก็ต ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จ.ภูเก็ต และพังงาเข้าร่วม 


นายสมเกียรติ ภิริยะกากูล รองผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาค กล่าวว่า ด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต อาจส่งผลให้แหล่งน้ำดิบที่ใช้เพื่ออุปโภคและบริโภคไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต จากเหตุผลดังกล่าวทางการประปาส่วนภูมิภาค 


จึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำดิบสำหรับอุปโภคและบริโภคในระยะยาวในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง จึงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัทแอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท โปรเกรส เทคโนโลยี คอนซัลแท็นส์ จำกัด ในวงเงินประมาณ 30 ล้านบาท ทำการศึกษาความเหมาะสมในการลงทุนโครงการวางท่อส่งน้ำจากเขื่อนรัชชประภา 


หรือแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียงที่มีศักยภาพเพียงพอไปยังเกาะภูเก็ต เพื่อใช้ในกิจการประปา การเกษตรและอื่นๆ ให้เพียงพอในระยะเวลา 20 ปี ข้างหน้า และให้ครอบคลุมความต้องการใช้น้ำในอนาคตที่อาจจะมีขึ้นของชุมชนตามแนวท่อส่งน้ำที่ผ่านบางพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต มีระยะเวลาการศึกษาโครงการ 420 วัน ระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 17 สิงหาคม 2557 หลังจากได้ผลการศึกษาแล้ว ก็จะได้นำเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป 


สำหรับขอบเขตพื้นที่ศึกษา ครอบคลุมบริเวณเกาะภูเก็ตและพื้นที่ที่วางท่อส่งน้ำผ่าน ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ กระบี่ พังงา และจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้จะมีการศึกษาความเหมาะสมด้านการลงทุน และการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 


เพราะการวางท่อส่งน้ำนั้นจะต้องผ่านพื้นที่ต่างๆ และมีพื้นที่บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ป่า ตลอดจนกรณีของภูเก็ตหากวางท่อในทะเลจะต้องพาดผ่านพื้นที่แนวปะการังบริเวณสะพานสารสิน โดยเฉพาะผลกระทบในช่วงที่มีการก่อสร้าง นายสมเกียรติกล่าว 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น