เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 ที่ห้องพระพิทักษ์แกรนด์บอลรูม ชั้น 3
โรงแรมเมโทรโพล อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายไมตรี อินทุสุต
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
เป็นประธานเปิดการสัมมนานำเสนอผลการคัดเลือกรูปแบบรายละเอียดโครงการ
(สัมมนาครั้งที่ 2) โครงการสำรวจและออกแบบทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวง
หมายเลข 4021 กับ 4024 กับ 4028 กับถนนเทศบาล (ห้าแยกฉลอง) อ.เมือง
จ.ภูเก็ต
ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานการมี
ส่วนร่วมของประชาชนของโครงการและเป็นเสมือนช่องทางสื่อสารกับประชาชนใน
พื้นที่โครงการอย่างต่อเนื่อง
เพื่อนำเสนอผลการคัดเลือกรูปแบบทางแยกต่างระดับของโครงการ
รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็น
และข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนาเพื่อนำไปประกอบการศึกษา
และการตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เหมาะสมต่อไป
โดยมีนางสาวสมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายเสรี
พาณิชย์กุล ปลัดจังหวัดภูเก็ต นายสมัคร เลือดวงหัด
ผู้อำนวยการแขวงการทางภูเก็ต นายธีระพร จิระรัตนากร
ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดภูเก็ต นายสำราญ จินดาพล
นายกเทศมนตรีตำบลฉลอง นายอรุณ โสฬส นายกเทศมนตรีตำบลราไวย์ นายไพศาล
สุวรรณรักษ์ ผู้จัดการโครงการ ตลอดจน หัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน
ผู้นำชุมชน ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในโครงการและสื่อมวลชน เข้าร่วม
สำหรับโครงการสำรวจและออกแบบทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 4021 กับ 4024
กับ 4028 กับถนนเทศบาล ( ห้าแยกฉลอง) นั้น ทางกรมทางหลวง
ได้ว่าจ้างให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอพซิลอน จำกัด
บริษัท นูแมพ จำกัด และบริษัท เอเชีย แล็ป แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด
เป็นผู้ดำเนินการศึกษา สำรวจและออกแบบโครงการ
เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและปัญหาที่เกี่ยวข้องในการสำรวจและออกแบบราย
ละเอียดโครงการ จัดเตรียมเอกสารข้อมูลประกอบการประกวดราคา และประเมินราคา
กำหนดขอบเขตของระวางโฉนดเพื่อจัดกรรมสิทธิ์
รวมทั้งเพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
และการมีส่วนร่วมของประชาชน
โดยมีจุดมุ่งหมายการพัฒนาโครงการให้มีความสมบูรณ์ทางด้านวิศวกรรม
สอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม โดยมีระยะเวลาศึกษาฯ 360 วัน
ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาจราจรติดขัดบริเวณห้าแยกฉลองและโครงข่ายคมนาคมบริเวณ
ใกล้เคียง
รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต
จากการศึกษาสำรวจและออกแบบ
โครงการกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้พิจารณากำหนดรูปแบบทางเลือกของโครงการเบื้อง
ต้นในการเปรียบเทียบ แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบทางเลือก ทั้งนี้จากการพิจารณา
พบว่า ทางเลือกที่ 1 ซึ่งเป็นทางลอดขนาด 2 ช่องจราจร ไป – กลับ
ในทิศทางถนนเจ้าฟ้าตะวันตก – ถนนวิเศษ มีความเหมาะสมมากที่สุด
โดยรูปแบบทางเลือกที่ 1 จะเป็นลักษณะทางลอด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ
ในทิศทางถนนเจ้าฟ้าตะวันตก-ถนนวิเศษ
โดยออกแบบให้เป็นถนนระดับดินบริเวณทางแยกยังคงสภาพเป็นวงเวียนเหมือนเดิม
ช่วงทางลอดเข้าสู่วงเวียนมีลักษณะเป็นอุโมงค์ปิด บริเวณช่วงปิด
ออกแบบด้านบนหลังคาของอุโมงค์เป็นทางระบายน้ำ
ลักษณะท่อลอดเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณถนน เจ้าฟ้าตะวันตก
เมื่อเขตทางขยายขึ้นแล้วจึงยกระดับเข้าสู่ระดับถนนเดิม
เนื่องจากมีข้อได้เปรียบในเรื่องพื้นที่ก่อสร้างค่อนข้างกว้างเมื่อเทียบกับ
รูปแบบอื่นๆ ไม่ต้องเวนคืนและไม่บดบังทัศนียภาพ แต่อาจจะมีข้อเสีย
โดยมีผลกระทบต่อทิศทางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
แต่ได้มีการออกแบบเพื่อรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในการแสดงความคิดเห็นของผู้ที่เข้ารับฟัง
ต่างเห็นด้วยกับการก่อสร้างทางลอดที่บริเวณห้าแยกฉลอง
เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด เนื่องจากปัจจุบันถือว่าค่อนข้างวิกฤต
โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน และในช่วงเทศกาลต่างๆ
เนื่องจากบริเวณดังกล่าวจะเป็นทางผ่านไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่
ไม่ว่าจะเป็นหาดราไวย์ แหลมพรหมเทพ หาดในหาน หาดกะตะกะรน เป็นต้น
แต่ปัญหาที่ห่วงคือ น้ำท่วมในทางลอด
เนื่องจากบริเวณพื้นที่ห้าแยกฉลองจะเป็นพื้นที่รับน้ำ
และมักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง
รวมทั้งผลกระทบระหว่างทำการก่อสร้างที่ต้องใช้เวลานานถึง 30 เดือน
ดังนั้นเห็นด้วยที่จะให้มีการหาเส้นทางเสี่ยงในช่วงก่อนที่จะมีการก่อสร้าง
และระหว่างการก่อสร้าง เนื่องจากยังไม่ทราบว่าจะได้รับงบประมาณเมื่อใด
นายไมตรี กล่าวว่า แม้โครงการดังกล่าวจะมีความจำเป็น
แต่ก็ต้องตกผลึกถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่
และในระหว่างที่รอการรับฟังความคิดเห็นซึ่งจะต้องมีขึ้นอีกอย่างน้อย 1
ครั้ง
จึงคิดว่าในระหว่างนี้ก็จะต้องหาทางบรรเทาปริมาณการจราจรในเส้นทางหลักไป
ด้วย ซึ่งจะได้หารือกับทางท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อหาโครงข่ายที่ลดปริมาณระที่จะเข้าสู่ห้าแยกวงเวียนฉลอง
ที่สามารถทำได้ทันทีและใช้งบประมาณไม่มาก เช่น ซอยสุขสันต์ 1 ซอยปรารถนา
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น