จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

ค่าแรง 300 บ.กระทบผู้ประกอบการรายเล็ก


นายวิโรจน์ พหนการ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัท พิโซน่า กรุ๊ป จำกัด กล่าวถึงกรณีที่ จ.ภูเก็ต ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 7 จังหวัดนำร่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนนี้ เป็นต้นไปว่า สำหรับภูเก็ตมีโรงแรมและสถานบริการตั้งแต่ระดับ 2 – 5 ดาว ซึ่งกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวจะเป็นผู้ประกอบการรายเล็กหรือโรงแรมระดับ 2 – 3 ดาว เนื่องจากจะเกิดปัญหาการไหลของแรงงานและการแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่รายได้เท่าเดิม รวมไปถึงปัญหาข้อพิพาทแรงงานที่จะเพิ่มสูงตามไปด้วย 

“เป็นที่ยอมรับกันอยู่แล้วว่ารายได้ของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสูงกว่ารายได้ขั้นต่ำอยู่แล้ว เพราะนอกจากเงินเดือนปกติจะมีในส่วนของเซอร์วิสชาร์ทและสวัสดิการต่างๆ ซึ่งเมื่อรวมแล้วก็เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายคือนายจ้างและลูกจ้างอยู่ร่วมกันได้ และลดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกันก็จะต้องมาหารือว่าจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร”


นายวิโรจน์ กล่าวด้วยว่า ในคราวที่มีการประชุม ครม.สัญจรที่ภูเก็ต ทางชมรมบริหารงานบุคคลจังหวัดภูเก็ตก็ได้มีการยื่นเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานให้ช่วยหาทางออกว่าจะดำเนินการได้อย่างไร เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นกฎหมายที่มีการบังคับใช้แล้ว เช่น การการันตีเซอร์วิสชาร์ทเมื่อรวมกันแล้วก็จะต้องได้เท่ากับค่าจ้างขั้นต่ำ นำสวัสดิการที่จัดให้มาคิดเป็นรายได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่พัก อาหารหรืออื่นๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังอยากให้ทางรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือปรับลดการส่งเงินเข้าสมทบกองทุนประกันสังคมทั้งเงินรายเดือนและรายปี ทั้งในส่วนของของลูกจ้างและนายจ้าง แม้ว่าปัจจุบันจะมีการปรับลดจาก 5% เหลือ 3 % แต่มีกำหนดระยะเวลา


อย่างไรก็ตามนายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า เนื่องจากขณะนี้ค่าครองชีพได้มีการปรับขึ้นไม่รออยู่แล้ว จึงทำให้ไม่มั่นใจว่าการปรับค่าจ้างดังกล่าวจะเกิดประโยชน์จริงหรือไม่ และกลายเป็นเรื่องที่ซ้ำเติมทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ดังนั้นสิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการควบคู่กันไปด้วย คือ การเข้าไปควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ประกอบกับระยะนี้ในภาคการท่องเที่ยวจะเข้าสู๋โลว์ซีซั่นซึ่งรายได้ก็จะลดน้อยลงอยู่แล้ว รูปแบบที่ทำกันในช่วงที่ผ่านมา คือ อนุญาตให้พนักงานลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือน หรือสลับกันหยุด ดังนั้นในระยะนี้ควรจะมีการอลุ่มอล่วยเพื่อให้มีการปรับตัวของทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ไม่ควรที่จะมีการจับกุมกันในทันทีทันใด รวมทั้งจะต้องเร่งหาทางออกในเรื่องนี้เพื่อประโยชน์ทั้งในส่วนของลูกจ้างและนายจ้าง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น