จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

รมว.คมนาคม ร่วมประชุมบอร์ดการท่าฯ



เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555 ที่ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานการท่าอากาศยานภูเก็ต อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานประชุมรับทราบและมอบนโยบายในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือบอร์ดการท่าฯ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานในความรับผิดชอบทั้ง 6 แห่ง ตลอดจนรับฟังบรรยายสรุปโครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต และตรวจเยี่ยมพื้นที่โครงการฯ
จากนั้นนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวภายหลังการประชุม ว่า เรื่องสำคัญที่สุด คือได้ให้แนวคิดในการปรับปรุงมาตรฐานในมิติต่างๆ ของการให้บริการของการท่าอากาศยานไทย (ทอท.) เพราะ ณ วันนี้ ทอท.จะต้องมีการกำหนดว่าตัวเองอยู่ในสถานะไหน มีสถานภาพอย่างไร และในอนาคตจะไปอยู่จุดใด ซึ่งแน่นนอนว่าเราจ้ะองไต่อันดับไปสู่ระดับโลกที่มีมาตรฐานสูงขึ้นเป็น 1 ใน 10 ในภูมิภาคอาเซียนและไต่ระดับไปสู่ระดับโลกได้ด้วย
“การจะบอกว่าเราเป็นฮับหรือศูนย์กลางนั้นมีอะไรบ้างที่ทำให้ทั่วโลกยอมรับอย่างแท้จริง เริ่มตั้งแต่การเพิ่มความสะดวกสบายของผู้โดยสาร โดยให้ความสำคัญกับการขนส่ง การขนคนหรือขนอุปกรณ์ต่างๆ ตั้งแต่ท่าอากาศยานไปสู่กรุงเทพมหานคร รถแอร์พอร์ตลิ้ง รถแท็กซี่ รถลีมูซีน การเข้าจอดของรถผู้โดยสารทั้งขาเข้าขาออก การอำนวยความสะดวกต่างๆ การดูแลห้องน้ำห้องส้วมให้สะอาดสมมาตรฐาน การดูแลต้อนรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามา เช่น เรื่องของวีซ่าเข้าประเทศ การเป็นพี่เลี้ยงในการกรอกเอกสารการเข้าเมือง เป็นต้น เพื่อสร้างความประทับใจในการให้บริการของผู้ใช้บริการท่าอากาศยาน”
ถัดมาเป็นมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ ในเรื่องการตรวจสอบการกลั่นกรองระบบรักษาความปลอดภัยผู้ประกอบการร้านต่างๆ ระบบการเสริมความปลอดภัยในรันเวย์ เพื่อให้ท่าอากาศยานมีความปลอดภัยถึงที่สุดติดอันดับโลกได้ตามมาตรฐานสากลทั้งหมด เพราะห่วงว่าเมื่อเรามีเครื่องบินแอร์บัส 380 ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก มีผู้โดยสารประมาณ 500 คน หากยังคงใช้ชานชลาปกติในการเข้าออกซึ่งจะต้องใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมงต่อคน 500 คน ซึ่งประตูเข้าออกเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็จะเป็นปัญหาอุปสรรค ซึ่งหากเราเป็นฮับแต่เราไม่สามารถมีหลุมจอดรองรับได้ซึ่งคงเป็นไม่ใช่
นอกจากนี้ที่สำคัญอีกด้าน คือ เรื่องของบริษัทซึ่งเป็นบริษัทมหาชน จะต้องมีมุมมองทั้งภาพลักษณ์ของบริษัทเอง ซึ่งปัญหาขณะนี้ คือ เรื่องคนและมลภาวะทางเสียง รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยต่างๆ ของผู้คนในย่านราชาเทวะ จ.สมุทรปราการ ซึ่งมีมติจะต้องจบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่จบเท่าที่ควร รวมทั้งจะต้องมองในระยะยาวในการขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ซึ่งจะต้องมีรันเวย์ที่ 3 และ 4 จึงต้องเริ่มคิดกันแล้วว่าจะเพิ่มจำนวนที่ดินจากที่มีอยู่เพียง 20,000 ไร่ ซึ่งมีสองรันเวย์ก็แทบจะไม่พอแล้ว เพราะตามมาตรฐานสากลแต่ละรันเวย์จะต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 1,500 เมตร หากดำเนินการตามมาตรฐานดังกล่าวจะไม่สามารถขยายรันเวย์ที่ 3 และ 4 ได้เลย จำเป็นจะต้องหาพื้นที่เพิ่มจาก 20,000 ไร่ ให้เป็น 50,000 ไร่ เพราะจุดเริ่มต้นในการกันพื้นที่ของสนามบินสุวรรณภูมิกว่าจะเกิดได้ต้องใช้เวลาถึง 49 ปี จึงต้องเริ่มตั้งแต่บัดนี้
อย่างไรก็ตามในการขยายพื้นที่นั้นเราก็จะต้องเอาประชาชนมาเป็นพันธมิตร และไม่เกิดความเสียหาย โดยหาแนวทางในการซื้อที่ดินบริเวณพื้นที่โดยรอบไปจนถึงทะเล เพื่อให้สามารถขยายรันเวย์ที่ 3 และ 4 ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะจะเป็นสินทรัพย์ และไม่ทำให้การท่าฯ ขาดทุนด้วย โดยจะต้องพัฒนาให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่าสูงสุด ไม่ใช่เป็นเฉพาะเพียงแค่สนามบินอย่างเดียว แต่ยังทำประโยชน์อะไรได้อีกหลายๆ อย่าง เช่น ศูนย์แสดงสินค้า สนามแข่งรถฟอร์มูล่าวัน เป็นต้น
นายจารุพงศ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังได้เน้นเรื่องการพัฒนาบุคลากรให้มีความคิดในเชิงสร้างสรรค์มีทัศนคติที่ดีต่องาน มุ่งเน้นในการให้บริการการบินด้วยจิตใจ และมีการประสานความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ เช่น การบินไทย โรงแรม แอร์พอร์ตลิงค์ เป็นต้น และควรที่จะได้มีการแลกเปลี่ยนสมาชิกในบอร์ดเป็นระยะๆ เมื่อให้รับทราบมุมมองหรือแนวทางการทำงานของแต่ละหน่วยซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงาน รวมถึงการเกื้อกูลระหว่างกันด้วย
อย่างไรก็ตามยังได้มีการรายงานความคืบหน้าของการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ซึ่งได้มีการอนุมัติงบประมาณในการดำเนินการแล้ว กว่า 5,700 ล้านบาท เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารจาก 6.5 ล้านคนต่อปี เป็น 12.5 ล้านคนต่อปี ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการและจะแล้วเสร็จประมาณปี 2557 นายจารุพงศ์กล่าว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น