จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ฟังความเห็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบกลุ่มอาคาร


เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2553 ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลกมลา (อบต.กมลา) อ.กะทู้ จ.ภูเก็ตนายสันติ อรรถทรัพย์ รองนายก อบต.กมลา เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment : EIA) โครงการการก่อสร้างระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียของอบต.กมลา ครั้งที่ 2 ซึ่งได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย รศ.ดร.สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อมประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการศึกษา เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับไปปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามความต้องการและเหมาะสมกับพื้นที่ พร้อมจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ เสนอประกอบการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วม

นายสันติ อรรถทรัพย์ รองนายก อบต. กมลา กล่าวว่า ด้วย อบต.กมลา กำลังดำเนินการโครงการก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียแบบกลุ่มอาคารที่มีขีดความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 3,550 ลบ.ม./วัน เพื่อรองรับการขยายตัวของประชาชนและการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ เพราะจากแนวโน้มการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นดังกล่าว จะส่งผลให้ปริมาณของเสีย ได้แก่ น้ำเสียและขยะมูลฝอยต่างๆ เพิ่มตามไปด้วย อันจะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทรัพยากรชายฝั่งทะเล แหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดิน สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่และนักท่องเที่ยว โดยปัจจุบันในพื้นที่ ต.กมลาซึ่งมีขนาด 18.9 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำเสียเกิดขึ้นประมาณ 3,200 ลบ.ม./วัน ทาง อบต.ได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียขึ้น เพื่อป้องกันปัญหามลพิษทางน้ำ และให้การจัดการน้ำเสียของ อบต.กมลาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะที่ รศ.ดร.สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อมประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า จากการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ความเหมาะสมและออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย กำหนดจุดในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียครอบคลุมทั้งพื้นที่จำนวน 7 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 พื้นที่ด้านหลังองค์การบริหารส่วนตำบลกมลา สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 600 ลบ.ม./วัน จุดที่ 2 พื้นที่ด้านข้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกมลาสามารถบำบัดน้ำเสียได้ 600 ลบ.ม./วัน จุดที่ 3 พื้นที่สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สามารถบำบัดน้ำเสียได้ ด 1,000 ลบ.ม./วัน จุดที่ 4 พื้นที่ถนนสาธารณประโยชน์หน้าสำนักสงฆ์เจริญธรรม สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 50 ลบ.ม./วัน จุดที่ 5 พื้นที่ถนนข้างหอเตือนภัยสึนามิ สามารถบำบัดน้ำเสียได้ ด 1,000 ลบ.ม./วัน จุดที่ 6 พื้นที่ริมถนนด้านฝั่งตรงข้ามโรงแรมกมลาบุรี สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 150 ลบ.ม./วัน และจุดที่ 7 พื้นที่ริมคลองเก็ตหนีตรงข้างซอยกมลา 12 สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 150 ลบ.ม./วัน ซึ่งจะเป็นการก่อสร้างใต้ดินทั้งหมด โดยจากการประมาณการค่าใช้จ่ายคาดว่าจะต้องใช้งบในการก่อสร้างประมาณ 1.5 ล้านบาท



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น