จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

“ISET 2017” ราชภัฏภูเก็ตระดมสมองนานาชาติ

“ISET 2017” ราชภัฏภูเก็ตระดมสมองนานาชาติ 


ระหว่างวันที่ 6 – 8 มิถุนายน 2560 ที่ห้องประชุม โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี ม.ราชภัฏภูเก็ต เป็นประธานการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International Conference for Science Education and Teachers – ISET 2017 The Integration of Science Teaching and Learning in the 21st Century สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏภูเก็ต ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตรศึกษา และมหาวิทยาลัยภาคีเครือข่ายด้านวิทยาศาสตร์หลายสถาบัน จัดขึ้น 


โดยมีผศ.ดร.ประโมทย์ พ่อค้า คณบดีคณะครุศาสตร์ ดร.ณสรรค์ ผลโภค นายกสมาคมวิทยาศาสตร์ศึกษาฯ ตลอดจน ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษาและนักวิชาการจากสถาบันในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และเอเชีย (ASIA) เข้าร่วมอย่างคับคั่ง 


ในการนี้ได้รับเกียรติจากนักวิชาการชั้นนำในทวีปเอเชีย ร่วมบรรยายพิเศษ ประกอบด้วย Assistant Professor Dr. Tang Wee Teo from Nangyang Technological University, Singapore / Professor Hsin-Kai WU from National Taiwan Normal University / Professor Jinwoong Song from Seoul National University / Lilia Halim from Universiti Kebangsaan Malaysia 


ผศ.ดร.ประภา กาหยี กล่าวว่า “ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความสำคัญกับการผลิตผลงานวิจัยที่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตรศึกษา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่มาจากการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศึกษาศาสตร์เข้าด้วยกัน ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจึงเป็นงานนวัตกรรมที่มีความหลากหลาย ซึ่งที่ผ่านมาเวทีสำหรับนำเสนอผลงานวิจัยและงานวิชาการที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตรศึกษามีไม่เพียงพอ ม.ราชภัฏภูเก็ต และภาคีเครือข่ายอีกหลายหน่วยงานจึงได้จัดงาน ISET 2017 ขึ้นมา 


เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาและการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาในประเทศและนานาชาติมีโอกาสนำเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบการบรรยายพิเศษ (Keynote Lecture) การนำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย (Oral Presentation) และการนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation) ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เกิดแนวคิดในการพัฒนางาน และแสวงหาโอกาสในการตีพิมพ์บทความวิชาการในระดับนานาชาติ โดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ส่งผลให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติต่อไป” 
  




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น