จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

กกต.ภูเก็ตจัด “เลือกตั้งสมานฉันท์ สว.”




เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2557 ที่ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำจังหวัดภูเก็ต นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ประธาน กกต.จังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม โครงการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดภูเก็ตจัดขึ้น โดยมีคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดภูเก็ต ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาและผู้ติดตามเข้าร่วม 



นายกิติพงษ์ เที่ยงคุณากฤต ผู้อำนวยการ กกต. ประจำจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดภูเก็ต ได้กำหนดจัดให้มีการอบรมให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ตามโครงการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้สนับสนุนผู้สมัครมีความรู้ความเข้าใจกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา 


เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง เพื่อให้ผู้สมัครยอมรับในเรื่องรู้แพ้ รู้อภัยและการรู้รักสามัคคี เพื่อรักษาความเป็นมิตรเป็นเพื่อนบ้าน และความเป็นญาติพี่น้องในพื้นที่ทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง เพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้เกี่ยวข้องในการจัดการเลือกตั้งได้ทราบบทบาท อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมทั้งเป็นการลดจำนวนเรื่องร้องเรียนในประเด็นการสำคัญผิดในกฎหมายเลือกตั้ง และเป็นไปตามนโยบายสำคัญของคณะกรรมการการเลือกตั้งด้วย 


ขณะที่นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ ประธาน กกต.จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การเลือกตั้งเป็นกระบวนการหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังนั้นผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคน คือ ผู้เสียสละที่มีความตั้งใจอาสาเข้ามาเป็นผู้แทนของประชาชนไปทำหน้าที่สำคัญ ต้องอุทิศตนทั้งแรงกายแรงใจ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชน ทำงานเพื่อส่วนร่วม แต่อย่างไรก็ตามจะได้รับเลือกหรือไม่ก็ตามก็สามารถร่วมมือกันปฏิบัติภารกิจนี้ได้ ไม่ว่าจะในฐานะอยู่ในสภาหรือนอกสภาต่างคนต่างก็ช่วยกันทำหน้าที่เพื่อส่วนร่วม เพียงแต่ละคนบทบาทหน้าที่กัน 


โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ขณะรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งก็ดี ภายหลังการเลือกตั้งก็ดี ผู้สมัครฯ ผู้สนับสนุน ญาติสนิทมิตรสหายมักเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง เอารัดเอาเปรียบและฝ่าฝืนกฎหมาย ประกาศ และระเบียบที่เกี่ยวข้องในการเลือกตั้ง บางแห่งถึงขนาดเอาชีวิตฝ่ายตรงข้ามก็มีบ่อยครั้ง พอเลือกตั้งเสร็จญาติพี่น้องขัดแย้งกัน เป็นต้น แสดงว่าบุคคลเหล่านั้นยังไม่เข้าใจว่าตนอาสาเข้าไปเป็นตัวแทนของประชาชนเพื่ออะไร 


หากเข้าใจถ่องแท้แล้ว ว่า การเสนอตัวอาสาเพื่อให้ประชาชนเลือกเป็นตัวแทนต้องเสียสละทำหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์ของประชาชน หากประชาชนยังไม่เห็นความสำคัญของเราทำไมต้องเสี่ยงทำผิดกำหมายและทำไมต้องโกรธกัน ดังนั้นจึงหวังว่า การอบรมในครั้งนี้ผู้สมัครฯ ผู้ให้การสนับสนุนจะเข้าใจกระบวนการเลือกตั้งได้เป็นอย่างดี และเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดความชัดแย้งที่เกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งได้ และเป็นการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น