จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คสช. ติดตามการดำเนินงานโรงเตาเผาขยะรวมภูเก็ต




เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2557 ที่ห้องประชุมโรงเผาขยะมูลฝอยชุมชนและผลิตไฟฟ้า เทศบาลนครภูเก็ต ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หัวหน้าฝ่ายสังคมและจิตวิทยา และคณะประชุม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยกรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และเทศบาลนครภูเก็ต 


โดยมีพลเรือโทธราธร ขจิตสุวรรณ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นางสาวภาวิณี ปุณณกันต์ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นางสาวสมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลางและในพื้นที่เข้าร่วมประชุม ในโอกาสเดียวกันนี้ ผู้ร่วมประชุมได้เข้าเยี่ยมชมบริเวณพื้นที่หลุมฝังกลบขยะ ตามหลักสุขาภิบาลและโรงเผาขยะมูลฝอยชุมชนและผลิตไฟฟ้า 2 ด้วย 


พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวภายหลังการประชุมตอนหนึ่งว่า ตนเองและคณะมาตรวจเยี่ยมจังหวัดภูเก็ต ตั้งใจที่จะมาดูโรงงานเผาหรือกำจัดขยะของจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากข้อมูลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเห็นว่า 


โรงงานดำเนินงานมาเป็นเวลานานหลายปีแล้วและเป็นจังหวัดแรกๆ ที่ดำเนินการกำจัดขยะในลักษณะนี้ ซึ่งเป็นตัวอย่างและจะเอาแบบอย่างของจังหวัดภูเก็ตไปดำเนินการในจังหวัดอื่นๆ ด้วย และจากการรับฟังข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า มีปัญหาอยู่บ้าง และคงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ และ คณะ จะนำผลการดำเนินการไปปรับแก้ในจังหวัดอื่น ที่มีแนวทางจะใช้ระบบโรงงานเตาเผาขยะนี้ต่อไป 


ทางด้านนางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวว่า การกำจัดขยะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ใช้พื้นที่ 291 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา และแบ่งพื้นที่ก่อสร้างระบบกำจัดขยะแบบฝังกลบ 134 ไร่ โรงเตาเผาขยะ 46 ไร่ สร้างโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ 33 ไร่ และพื้นที่แนวฉนวน 78 ไร่โดยปี 2536ก่อสร้างระบบฝังกลบมูลฝอยตามหลักสุขาภิบาล 120 ไร่5 บ่อ ปัจจุบันเต็มพื้นที่แล้วและไม่สามารถฝังกลบขยะเพิ่มเติมได้อีก หรือมีขยะตกค้างอยู่ มากกว่า 1 ล้านตัน 


และก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขยะ 14 ไร่ เป็นลักษณะแบบบ่อผึ่ง และในปี 2538 กรมโยธาธิการและผังเมืองก่อสร้างโรงเผาขยะมูลฝอยชุมชน ขนาด 250 ตันต่อวัน สามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด 2.5 เม็กกะวัตต์ และถ่ายโอนให้แก่เทศบาลมาตั้งแต่ปี 2542 และดำเนินการเผาขยะของจังหวัดภูเก็ต มาเป็นระยะเวลา 15 ปีและโรงเผาขยะมีสภาพชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ อย่างไรก็ดีปริมาณขยะในจังหวัดภูเก็ตเพิ่มมากกว่า 500 ตันต่อวัน และมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี คาดว่าในปี 2562 จะมีปริมาณขยะเกินกว่า 1,000 ตัน ต่อวัน 


ต่อมาบริษัท พีเจที เทคโนโลยี จำกัดลงทุนก่อสร้างและบริหารโรงเผาขยะมูลฝอย ขนาดไม่น้อยกว่า 300 ตันต่อวัน พร้อมระบบผลิตไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 5 เมกะวัตต์ พร้อมระบบบำบัดมลพิษตามมาตรฐานกฎหมาย กำหนดโดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากค่ากำจัดขยะ และค่าจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ที่ใช้พลังงานความร้อนจากขยะมาเป็นเชื้อเพลิง 


โดยมีระยะเวลารับสัญญาลงทุนก่อสร้าง และบริหาร 14 ปี และโรงเผาขยะชุมชนได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 20 มีนาคม2555 มูลค่าก่อสร้าง 940,600,000 บาท โดยสร้างเตาเผาขยะชุมชนขนาด 359 ตัน 2 ชุด สามารถเผาขยะชุมชนได้ 700 ตันต่อวัน ในขณะที่ มีขยะเข้าระบบ จำนวน 650 -690 ตันต่อวัน หรือเกือบเต็มประสิทธิภาพ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 7.0 เม็กกะวัตต์และขายให้ กฟภ. 5.5 เม็กกะวัตต์ ปัจจุบันได้ทดสอบระบบ และสามารถเดินระบบได้เต็มประสิทธิภาพ เป็นไปตามสัญญาเรียบร้อยแล้ว 


นางสาวสมใจ กล่าวด้วยว่า สำหรับปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่จังหวัดภูเก็ตต้องประสบ และมีแนวโน้มว่าภายใน 2 ปีนี้หากไม่มีมาตรการอื่นๆ มาสนับสนุนให้เกิดกระบวนการจัดการขยะมูลฝอยในทิศทางเดียวกัน ปริมาณขยะจะเกินขีดความสามารถของเตาเผาใหม่ทั้ง 2 ชุด1และภาคเอกชนลงทุนไปแล้ว ร้อยละ70และเทศบาลนครภูเก็ตควรดำเนินการส่วนที่เหลือ คือ การซ่อมแซมเตาเผาขยะชุดแรก ขนาด 250 ตันต่อวัน ที่เสนอของบประมาณ ในระหว่างปี 2557 – 2560 จำนวน 530 ล้านบาท 


ส่วนบ่อฝังกลบตามหลักสุขาภิบาลทั้ง 5 บ่อนั้น บ่อแรกปรับปรุงฟื้นฟูเป็นพื้นที่ฉนวน บ่อที่ 2 – บ่อที่ 4 รื้อเป็นเชื้อเพลิง ใช้งบประมาณรวม137 ล้านบาท ส่วนบ่อที่ 5 ขนาด 200ไร่ ปรับปรุงเป็นระบบฝังกลบแบบชีวภาพ-กล(BMT) งบประมาณ 89 ล้านบาทรวมทั้ง มีโครงการก่อสร้างโรงปุ๋ยขยะอินทรีย์ ขนาด 80 ตัน ใช้งบประมาณ 279 ล้านบาท หรือรวมงบประมาณลงทุนทั้งหมด 1,035 ล้านบาท 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น