จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เสนอแนวทางพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ปี 57- 62




เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2557 ที่ห้องประชุมกมลา 1 และ 2 ชั้น 1 โรงแรมโฮแอท รีเจนซี ภูเก็ต รีสอร์ท อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต นายประเทือง ศรขำ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ท่าอากาศยานภูเก็ต โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาค


เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดความก้าวหน้าการศึกษาและการพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมในการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต และรับฟังข้อคิดเห็นต่างๆ เพื่อจะได้รวบรวมเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาในลำดับต่อไป โดยมี ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิและภาคเอกชนเข้าร่วม 


นายประเทือง ศรขำ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต กล่าวว่า บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้ดำเนินกิจการท่าอากาศยานมากว่า 35 ปี โดยได้ดำเนินธุรกิจกิจท่าอากาศยานด้วยมาตรฐานเหนือระดับ ให้บริการด้วยใจรัก พร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนตลอดมา ซึ่งท่าอากาศยานภูมิภาค (ทภภ.) ของ ทอท. ประกอบด้วย ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งที่สำคัญทั้งในภาคเหนือ และภาคใต้ของประเทศไทย 


ทั้งนี้ ทภภ.มีสัดส่วนปริมาณเที่ยวบิน และผู้โดยสารประมาณร้อยละ 23 – 24 ของปริมาณเที่ยวบิน และผู้โดยสารทั้งหมดของท่าอากาศยานในความรับผิดชอบ ของ ทอท.และ ทภภ.ยังมีบทบาทที่สำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางภาคเหนือและภาคใต้ และเป็นจุดศูนย์กลางการเชื่อมต่อกับภูมิภาคอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการหาแนวทางแก้ไขปัญหาปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้น จนถึงขีดความสามารถในการรองรับที่มีอยู่ในปัจจุบัน 


ส่งผลให้ทภภ.จำเป็นต้องมีการวางแผนแม่บทในการพัฒนาท่าอากาศยาน เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินการจราจรทางอากาศที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ ทอท. และสามารถรองรับการขยายตัวของปริมาณการจราจรทางอากาศที่จะนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ทอท. 


จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา D103 Consortium ดำเนินการศึกษา และจัดทำแผนแม่บท ท่าอากาศยานภูมิภาค เพื่อประเมินศักยภาพ และวิเคราะห์ข้อจำกัดของโครงสร้างพื้นฐานของ ทภภ.ที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการรองรับปริมาณจราจรทางอากาศ รวมทั้งจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนา ทภภ.ซึ่งจะมีการกำหนดกรอบการดำเนินงานเพื่อพัฒนา ทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว นายประเทืองกล่าว 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น