จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

นำทุ่นเตือนสึนามิไปแทนทุ่นที่หลุดจากตำแหน่ง



เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2557 ที่บริเวณท่าเทียบเรือสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน แหลมพันวา ต.วิชิต อ.เมือง ภูเก็ต นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้เป็นประธานปล่อยเรือ M.V.SEAFDEC ของศูนย์พัฒนาการประมงฯ เพื่อไปเก็บกู้เสาอากาศควบคุมและส่งสัญญาณ (Surface Buoy) ของทุ่นตรวจวัดสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งขณะนี้ได้หลุดลอยไปยังประเทศศรีลังกาพร้อมทั้งวางทุ่นสำรองชุดใหม่แทนที่ซึ่งประกอบด้วยตัวทุ่นลอย และอุปกรณ์ตรวจวัดแรงดันน้ำ


ทั้งนี้นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จากกรณีทุ่นตรวจวัดสึนามิในมหาสมุทรอินเดียได้หลุดจากตำแหน่ง ทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครื่องตรวจวัดใต้ทะเล กลับมายังส่วนกลางได้ ทำให้ผู้ที่ติดตามการเตือนภัยพิบัติของไทยแสดงความเป็นห่วงว่าจะส่งผลกระทบต่อระบบการเตือนภัย 


ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในฐานะที่ดูแลรับผิดชอบ เป็นหน่วยงานหลักของประเทศ มีหน้าที่ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตระหนักถึงเหตุการณ์ดังกล่าวอาจสร้างความกังวล และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในการแจ้งเตือนภัยสึนามิได้ จึงส่งผู้เชี่ยวชาญไปเก็บกู้ทุ่นลอยซึ่งเป็นเสาอากาศควบคุมและส่งสัญญาณ พร้อมทั้งติดตั้งทุ่นใหม่ ทดแทนตัวเดิม ที่บริเวณห่างจากจังหวัดภูเก็ตทางทิศตะวันตก เป็นระยะทางประมาณ 1,000 กิโลเมตร


โดยการเดินทางในครั้งนี้จะใช้เวลาประมาณ 10 วัน โดยออกเดินทางตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 57 และเดินทางกลับถึงในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 57 ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษจากสหรัฐอเมริกา โดยมีภารกิจประกอบด้วย การนำอุปกรณ์ตรวจวัดแรงดันน้ำ BPR (Bottom Pressure Recorder) ซึ่งวางอยู่ในระกดับน้ำลึก 3,500 เมตร ขึ้นมาเปลี่ยนแบตเตอรี่ และตรวจสอบระบบการทำงาน


พร้อมกันนี้ได้มีมีการนำทุ่นสำรองชุดใหม่ไปวางแทน ซึ่งประกอบด้วย ตัวทุ่นลอย (Bouy) และอุปกรณ์ตรวจวัดแรงดันน้ำ (BPR) นอกจากนี้ทางผู้เชี่ยวชาญยังจะทำการตรวจสอบจนกว่าสัญญาณการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดมีผลและรายงานมายังศูนย์กลางข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และเผยแพร่ได้ จึงจะเป็นการจบกระบวนการทำงาน


นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า การซ่องบำรุงทุ่นเตือนภัยสึนามิในครั้งนี้ มิได้ใช้ประโยชน์สำหรับประเทศไทยเท่านั้น แต่จะเป็นประโยชน์กับนานาประเทศบริเวณโดยรอบมหาสมุทรอินเดีย อันเป็นการช่วยลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในประเทศไทยและชาวต่างประเทศที่มาพำนักหรือเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัย อีกทั้งสร้างเสรอมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของไทยอีกทางด้วย 


นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำงานของ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ด้านการแจ้งเตือนภัย จะเป็นการทำงานโดยใช้หลักการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร และเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยเจตนารมณ์ที่มุ่งหวังให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเพื่อหาแนวทางในการป้องกันและบรรเทาปัญหาหรือที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ


ตลอดจนการร่วมมือเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการภัยพิบัติธรรมชาติให้แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายและผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้รอดพ้นจากภัยพิบัติที่อาจจะเกินขึ้นได้ตลอดเวลา 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น