จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

สคบ.เตรียมตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนในภูมิภาคที่ภูเก็ต



เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2557 นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้กล่าวภายหลังนำคณะลงพื้นที่พบปะผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์และท่องเที่ยว ที่มีการร้องเรียนเข้ามาที่สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก ว่า การลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ มีเรื่องที่ทาง สคบ.มาดำเนินการ 


ประกอบด้วย การร้องเรียนเรื่องบ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียม ที่ผู้ซื้อได้มีการร้องเรียนเข้าไปยัง สคบ.ภูเก็ต ในประเด็นซื้อบ้านแล้วผู้ซื้อต้องแบกรับภาระภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีนิติบุคคล ซึ่งตามกฎหมายแล้วภาษีดังกล่าวผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้ปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ซื้อไม่ได้อ่านสัญญา แต่เมื่อซื้อไปแล้วและได้จ่ายเงินไปแล้วมาทราบที่หลัง จึงได้ร้องเรียนไปยัง สคบ.จังหวัดภูเก็ต


โดยปัญหาที่เกิดขึ้นได้มีการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ ซึ่งทางผู้ประกอบการยินยอมที่จะจ่ายเงินค่าภาษีดังกล่าวคืนให้กับผู้ซื้อ ซึ่งในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ทางสคบ.ได้กำหนดมาตรการให้ทางผู้ประกอบการ แจ้งให้ผู้ซื้อทราบอย่างชัดเจนว่าจะต้องจ่ายภาษีอะไรบ้าง นอกจากนี้ยังลงไปถึงใบปลิว 


ที่ทางผู้ประกอบการได้เสนอขายกับลูกค้า ถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะของโครงการ จำนวนที่จอดรถ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามใบปลิวที่เสนอขาย นอกจากนี้ก็ยังมีปัญหาบ้านร้าว ซึ่งมีการร้องเรียนเข้ามามากพอสมควร เมื่อทางจังหวัดเข้าไปเคลียร์ปัญหากับผู้ประกอบการ ทางผู้ประกอบการก็ยินดีที่จะซ่อมแซมให้ ทำให้ปัญหาได้รับการแก้ไขทั้งหมด 


นายอำพล ยังกล่าวอีกว่า สำหรับในเรื่องของปัญหาการให้บริการนักท่องเที่ยว ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุด โดยเฉพาะการเดินทางท่องเที่ยวทางเรือ ที่ต้องการให้นักท่องเที่ยวปลอดภัยที่สุด ไม่อยากให้เกิดเหมือนที่พัทยา ซึ่งทางสคบ.จะไปพูดคุยกับผู้ประกอบการเรือโดยสารในภูเก็ต ให้ดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการไม่บรรทุกเกินน้ำหนัก มีเสื้อชูชีพเท่าจำนวนผู้โดยสาร เรือและคนขับมีความพร้อม และโดยเฉพาะในช่วงก่อนถึงไฮซีชั่น จากหน่วยงานภาครัฐในภูเก็ต บูรณาการกันหาหรือกับผู้ประกอบการให้การให้บริการมีความปลอดภัยสูงสุด 


ในส่วนของปัญหาทามแชร์ริ่ง หรือ การขายห้องพักโรงแรมล่วงหน้า ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นมากในภูเก็ต เนื่องจากภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ชาวต่างชาตินิยมเดินทางมาท่องเที่ยว บางรายอาจจะมาแบบไปซื้อที่พักเมื่อเดินทางมาถึงก็จะไม่มีปัญหา แต่ที่เกิดปัญหามักจะเกิดกับผู้ซื้อที่พักไว้ล่วงหน้า แต่เมื่อจะเดินทางมา กลับบอกว่าที่พักเต็ม หรือได้ที่พักไม่เป็นไปตามข้อตกลง เช่นตกลงที่พักไว้ชนิด 5 ดาว แต่เมื่อมาถึงกลับได้ที่พักชนิด 2 – 3 ดาว เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ของจังหวัดภูเก็ตก็สามารถที่จะเรียกผู้ประกอบการมาตักเตือน พร้อมทั้งนำส่วนต่างของราคามาคืนกับทางผู้เสียหาย 


นายอำพล ยังกล่าวต่ออีกว่า สำหรับจังหวัดภูเก็ต ทางสคบ.จะใช้เป็นพื้นที่นำร่อง ในการตั้งสำนักงานคุ้มครองผู้บิโภค สาขาขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมา ทางสำนักงานมาเจ้าหน้าที่เพียง 2 คน และใช้สำนักงานศูนย์ดำรงธรรมในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ส่วนสำนักงานยุติธรรมจังหวัดภูเก็ต ซึ่งก็เป็นสถานที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ด้วยเช่นกัน และจากการหารือแล้ว มีความคิดว่าน่าจะนำทั้ง 3 หน่วยมาบูรณาการให้อยู่ในที่เดียวกัน ซึ่งจะให้ทางจังหวัดภูเก็ตจัดหาสถานที่ ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นที่ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่ผู้บริโภคสามารถเข้ามายื่นเรื่องราวร้องทุกข์ได้สะดวก 


ด้านนายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ซึ่งกำกับดูแลสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดภูเก็ต ได้กล่าวกว่า ในปี 2556 ที่ผ่านมา ทางสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดภูเก็ต ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 204 เรื่อง โดยอันดับแรกก็จะเป็น การร้องเรียนเรื่องอสังหาริมทรัพย์ อันดับต่อมาก็จะเป็นเรื่องรถยนต์ 


และอันดับที่ 3 ก็จะเป็นสินค้าต่างๆ ที่ไม่ได้มาตรฐานตามโฆษณา ซึ่งเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็จะเรียกผู้ประกอบการ พร้อมทั้งผู้บริโภคมานั่งคุยกัน และสามารถทำการตกลง พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ประมาณ 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือก็จะนำส่งสำนักงานสคบ.ส่วนกลาง เพื่อทำการพิจารณา ในการสั่งฟ้องร้องกันต่อไป 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น