จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ฟังความเห็นร้องเปลี่ยนการขุดลอกร่องน้ำเกาะแก้ว




เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2557 ที่ห้องประชุม โครงการ รอยัล ภูเก็ต มารีน่า อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหากรณี การขุดลอกร่องน้ำคลองเกาะแก้ว อ.เมืองภูเก็ต ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ ที่ 3 กรมเจ้าท่า ภายหลังจากที่มีปะชาชนยื่นหนังสือร้องเรียนขอให้มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดลอกร่องน้ำ เนื่องจากมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมบริเวณอ่าวสะปำ และพื้นที่ใกล้เคียง 


โดยมีนายประเจียด อักษรธรรมกุล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดภูเก็ต นายประพันธ์ ขันธ์พระแสง หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ต นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต นายจิตติ อินทรเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประมง สภาเกษตรกรจังหวัดภูเก็ตในฐานะ ประธานคณะทำงานแก้ปัญหาด้านการประมง นายเจษฎา แนบเนียน กำนันตำบลเกาะแก้ว อ.เมืองภูเก็ต ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ชาวประมงพื้นบ้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนายธนู แนบเนียน องค์กรเอกชนอันดามัน 


สำหรับโครงการขุดลอกร่องน้ำคลองเกาะแก้ว ศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 3 ได้จัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเส้นทางในการที่จะขุดลอก โดยได้เลือกแนวร่องน้ำเดิม ซึ่งมีระยะทางที่คดเคี้ยวมีความยาวของระยะทางประมาณ 3.6 กิโลเมตร ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ 12 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 6 เดือน เริ่มดำเนินการประมาณเดือนมีนาคมที่ผ่านมา 


โดยในการใช้เครื่องจักรในการขุดลอก แบ่งเป็น 2 ส่วน ระยะที่อยู่ในคลองประมาณ 1.5 เมตร เนื้อดินประมาณ 86,371 ลูกบาศก์เมตร ใช้รถแบ็คโคลงในโป๊ะ กับ ส่วนที่อยู่ในชายฝั่งทะเล ระยะทางประมาณ 3,400 เมตร เนื้อดินประมาณ 202,654 ลูกบาศก์เมตร ใช้เรือขุดแบบหัวสว่าน ภาพรวมขณะนี้ดำเนินการได้แล้วประมาณ 22% 


ทั้งนี้ในการร้องเรียนที่มีการยื่นผ่านทางสภาเกษตรกรจังหวัดภูเก็ตนั้น ระบุว่า ไม่ได้คัดค้านการขุดลอกร่องน้ำ แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้เรือขุดแบบหัวสว่าน เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ระบบนิเวศบริเวณอ่าวสะปำเปลี่ยนแปลงไป สัตว์น้ำพื้นถิ่นถูกทำลาย เกิดเนินทราย ทำลายอาชีพเกษตรกร 


และสร้างความขัดแย้งในชุมชน จึงอยากให้มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุด หรือหาแนวทางในการลดผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด เพราะจากการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้หัวขุดแบบสว่านในช่วง 15 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อ่าวสะปำเป็นอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น