จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ศึกษาดึงน้ำจากเขื่อนรัชชประภามาภูเก็ต




เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ห้องประชุมชั้น 2 อาคารกาญจนาภิเษกอำเภอเมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต นายภาคภูมิ อินทรสุวรรณ นายอำเภอเมืองภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 โครงการศึกษาความเหมาะสมในการลงทุน โครงการวางท่อส่งน้ำดิบจากเขื่อนรัชประภาไปเกาะภูเก็ต ซึ่งการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ได้แก่ บริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท โปรเกรส เทคโนโลยี คอนซัลแท็นส์ จำกัด จัดขึ้น 


เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ ประกอบด้วย แนวทางที่เหมาะสมในการส่งน้ำจากเขื่อนรัชชประภาและคลองพุมดวงไปเกาะภูเก็ต การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนรัชชประภา/คลอง พุมดวง องค์ประกอบของการวางท่อส่งน้ำไปเกาะภูเก็ต ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมประชุม ซึ่งเป็นผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ อ.เมืองภูเก็ต อ.กะทู้และ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 


นายอวิรุทธ์ สุขสมอรรถ วิศวกรด้านแหล่งน้ำ บริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงาและภูเก็ต อาจส่งผลให้แหล่งน้ำดิบที่ใช้เพื่ออุปดภคและบริโภคไม่เพียงต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต การประปาส่วนภูมิภาค จึงมีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำดิบสำหรับอุปโภคและบริโภคในระยะยาว ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและใกล้เคียง 


จึงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท โปรเกรส เทคโนโลยี คอนซัลแท็นส์ จำกัด ทำการศึกษาความเหมาะสมในการลงทุนโครงการวางท่อส่งน้ำจากเขื่อนรัชชประภาหรือแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียงที่มีศักยภาพเพียงพอในระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า และให้ครอบคลุมความต้องการใช้น้ำในอนาคตที่อาจจะมีขึ้นของชุมชนตามแนวท่อส่งน้ำที่ผ่านบางพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่และพังงา โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาโครงการ 420 วัน 


ทั้งนี้การประปาส่วนภูมิภาค ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 เพื่อนำเสนอข้อมูลโครงการอย่างเป็นทางการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 6 – 7 พฤศจิกายน 2556 และได้นำผลความคิดเห็นจากที่ประชุมมาประกอบการศึกษาโครงการจนได้แนวทางเลือกต่างๆ ในการพัฒนา 3 แนวทางหลัก ได้แก่ การผลิตน้ำประปาที่ต้นทาง (ต.ต้นยวน) 2.การผลิตน้ำประปาที่กลางทาง (จ.พังงา) และ 3. การผลิตน้ำประปาที่ปลายทาง (จ.ภูเก็ต) 


ซึ่งได้มีการนำเสนอแนวทางดังกล่าวในการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 10 – 13 กุมภาพันธ์ 2557 โดยได้มีการเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ตลอดจนผลกระทบและการลดผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ซึ่งทางบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้วิเคราะห์ตามเกณฑ์การคัดเลือก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม ด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐศาสตร์ ได้แนวทางเลือกที่เหมาะสม คือ การผลิตน้ำประปาจากต้นทางและวางท่อส่งน้ำไปยังเกาะภูเก็ต โดยจะจ่ายน้ำประปาให้การประปาส่วนภูมิภาคสาขาต่างๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องการ นายอวิรุทธ์กล่าว 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น