จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

เพิ่มความรู้ด้านการเมืองและส่งเสริมประชาธิปไตย

เมื่อวันที่ 25 กันยายน 53 ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง ภูเก็ต นายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์ สส.ระบบบัญชี จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติงานการส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนจังหวัดภูเก็ต ปี 2553 กลุ่มอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต พร้อมทั้งบรรยายพิเศษในหัวข้อ การพัฒนาจังหวัดภูเก็ต โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีนางอัญชลี วานิช เทพบุตร รองเลขานายกรัฐมนตรี นายทศพร เทพบุตร นายเรวัต อารีรอบ สส.พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดภูเก็ต และกลุ่มอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมการอบรมจำนวน 350 คน

ทั้งนี้นายสมศักดิ์ สงนุ้ย พัฒนาการจังหวัดภูเก็ตได้กล่าวว่า การประชุมเชิงปฏิบัติงานการส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนจังหวัดภูเก็ต ปี 2553 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จากสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และได้อนุมัติงบประมาณในการดำเนินงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต ในด้านการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นอกจากนี้ยังให้ประชาชนชาวภูเก็ต มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในบทบาทหน้าที่ การมีส่วนร่วมทางการเมือง การปกครอง ตลอดจนการสร้างความรัก ความสามัคคีและการปรองดองของคนในชาติและมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาการเมืองที่สุจริตธรรมในทุกระดับ

โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนจังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมายของอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต จากทุกหมู่บ้านของจังหวัดภูเก็ตใน 90 หมู่บ้าน และอาสาพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลนครภูเก็ต, เทศบาลเมืองป่าตอง, เทศบาลเมืองกะทู้ จำนวนทั้งสิ้น 350 คน โดยหลักสูตรได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือการบรรยายกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบบประชาธิปไตย และการแบ่งกลุ่มระดมสมองจากผู้เข้าร่วมประชุม ถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต พร้อมทั้งรูปแบบ แนวทาง และวิธีการในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบบประชาธิปไตยในชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดภูเก็ต สมาคมอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต ที่ได้เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้

ด้านนายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์ ได้กล่าวว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพ.ศ.2550 ได้บัญญัติให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยประชาชนทุกภาคส่วน จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกด้าน ซึ่งถือว่าเป็นฐานรากสำคัญในการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข อีกทั้งการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาประเทศ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเกิดความรักความสามัคคีในหมู่ประชาชนมีความปรองดอง นอกจากนี้จะเป็นการเพิ่มความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชน ในด้านการพัฒนาการเมือง การบิหารจัดการบ้านเมืองที่ดี บทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบุคลากร การเลือกตั้งอย่างสุจริตปราศจากการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น