จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ติวเข้มเยาวชนด้านเทคโนโลยีรองรับการเข้าสู่ AEC



เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ห้องชมภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน โครงการฝึกอบรมเทคโนโลยี เพื่อขยายขีดความสามารถของเยาวชน ซึ่งทางสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับบริษัทไมโครซอฟท์ และวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดขึ้น 



โดยมีนางศรีศักดิ์ ไทยอารี ผู้อำนวยการสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนฯ นายเดซาเร็ค เทโซ ผู้แทนจากบริษัทไมโครซอฟท์ นางสาวสมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายวิโรจน์ ภู่ต้อง ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต คณะครู บุคลากรและนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วม 


ทั้งนี้ได้มีการนำเสนอและประเมินผลการดำเนินโครงการในภาคใต้จาก 6 โรงเรียน ใน จ.ภูเก็ต 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียน อบจ.บ้านตลาดเหนือ โรงเรียน อบจ.เมืองภูเก็ต โรงเรียน อบจ.บ้านนาบอน โรงเรียนวีรสตรีอนุสรณ์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 36 (กมลา) และจาก จ.พังงา 1 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนทับปุดวิทยา 


นางศรีศักดิ์ ไทยอารี ผู้อำนวยการสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนฯ กล่าวว่า โครงการฝึกอบรมเทคโนโลยีเพื่อขยายขีดความสามารถของเยาวชน หรือที่เรียกว่า The Yes เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระยะยาว 3 ปี ของบริษัทไมโครซอฟท์ที่เรียกว่า Youth Spark ซึ่งมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่เยาวชน โดยบริษัทฯ ได้สนับสนุนให้สภาฯ ดำเนินการฝึกอบรมครู เจ้าหน้าที่องค์กรภาคี และนักเรียน รวมทั้งผู้นำเยาวชนในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ 


โดยใช้โปรแกรมของไมโครซอฟท์ 4 โปรแกรม คือ Word, Power Point, Excel และInternet และ Cloud ซึ่งการอบรมนี้ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของสภาฯ ในด้านการเตรียมความพร้อมของเด็กและเยาวชนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้เด็กและเยาวชนไทย มีสมรรถนะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจนสามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ในการศึกษา การประกอบอาชีพ และการช่วยเหลือสังคมและมีสมรรถนะทัดเทียมกับเด็กและเยาวชนในประเทศสมาชิกอื่นๆ ของประชาคมอาเซียน 


การดำเนินโครงการใช้เวลา 2 ปี เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2555 และจะสิ้นสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 โดยสภาฯ ร่วมกับองค์กรภาคีในแต่ละภาค คือ หอการค้าจังหวัดเชียงรายในภาคเหนือ กลุ่มเยาวชนไม้ขีดไฟในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในภาคกลาง และวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในภาคใต้ มีโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ 25 แห่ง แบ่งเป็นภาคเหนือ 7 โรงเรียนในจังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 โรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ภาคกลาง 2 โรงเรียน และ 1 มหาวิทยาลัยในจังหวัดสระบุรี กรุงเทพฯ และภาคใต้ 6 โรงเรียนในจังหวัดภูเก็ตและพังงา 


มีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นครูและเจ้าหน้าที่องค์กรภาคี 35 คน นักเรียนและผู้นำเยาวชน 1,194 คน ซึ่งหลังจากการฝึกอบรมแล้ว นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้จัดตั้งหรือส่งเสริมชมรมคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนของตนเอง และนำความรู้ไปเผยแพร่ให้แก่ให้แก่เพื่อนๆ และรุ่นน้องในโรงเรียนเดียวกันและต่างโรงเรียน รวมทั้งสร้างผลงานต่างๆ เช่น สมุดประวัติส่วนบุคคล เพื่อใช้ในการเรียนต่อหรือสมัครงาน แผ่นพับเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพ และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ รวมทั้งออแบบสิ่งพิมพ์ของโรงเรียน เป็นต้น นางศรีศักดิ์กล่าว 


ขณะที่นายเดซาเร็ค เทโซ กล่าวว่า ทาง Microsoft พร้อมมอบโอกาสให้โอการกับเด็กเยาวชนไทยในการสร้างแรงบันดาลใจของการใช้พัฒนานาทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเด็ก ๆ เหล่านี้จะเป็นพลังให้แก่สังคมไทยในอนาคตที่จะขับเคลื่อนให้ไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น อยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กให้มีความพร้อมทั้ง การ ใจระบบทางการคิดในแบบสร้างสรรค์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น