จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หนุนอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือสำราญ


เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2553 ที่ห้องจามจุรี 1 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน องเมือง จ.ภูเก็ต นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนา โครงการศึกษาแนวทางการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือสำราญ ซึ่งทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) โดยมีนายศุภชัย แสงปัญญา รักษาราชการแทน รองอธิการบดี มอ. รศ.ดร.จรัญ บุญกาญจน์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ. นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต หน่วยงานราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการเจ้าของอู่ต่อเรือ ท่าเรือ และผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วม

รศ.ดร.จรัญ บุญกาญจน์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ. กล่าวว่า อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือสำราญ เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญ และมีส่วนสนับสนุนความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเชื่อมโยงกับธุรกิจการท่องเที่ยวทางทะเล ตลอดจนเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นอีกมากมาย จากสถิติตัวเลขนักท่องเที่ยวพบว่า จังหวัดภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวเฉลี่ยปีละประมาณ 5 ล้านคน และด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับสำราญ ได้แก่ ท่าเทียบเรือที่ทันสมัยได้มาตรฐาน และมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะสามารถรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้ โดยเรือสำราญขนาดตั้งแต่ 30-100 ฟุตขึ้นไป มีประมาณ 1,300 ลำต่อปี และแนวโน้มจะมีนักเดินเรือเข้ามาท่องเที่ยวใช้บริการเพิ่มขึ้นทุกปี

อย่างไรก็ตามหากมีศูนย์บริการสำหรับเรือสำราญอย่างครบวงจรจะยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้นักเดินเรือเข้ามาท่องเที่ยวในน่านน้ำภูเก็ตและอันดามันเพิ่มมากขึ้นประมาณปีละไม่น้อยละ 5,000 ลำ จากจำนวนเรือยอช์ทประมาณ 500,000 ลำทั่วโลก และจากแนวโน้มจำนวนนักเดินเรือเข้ามาท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เห็นว่าสมควรจะทำการศึกษาการจัดตั้งเป็นศูนย์สารสนเทศเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือสำราญสำหรับพื้นที่แถบทะเลอันดามัน โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการอู่เรือ ผู้ประกอบการมารีน่า และธุรกิจบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชื่อมโยงประสานงานระหว่างผู้ประกอบการมารีน่า ผู้ประกอบการอู่เรือ และผู้รับบริการเรือสำราญ อันจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาใช้บริการ นอกจากจะเป็นการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวแล้ว ยังจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบอู่เรือในการบริการซ่อมบำรุงเรือ ซึ่งมีมูลค่าปีละไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท และเกิดรายได้จากการจ้างงาน ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก รศ.ดร.จรัญกล่าว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น