จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ภูเก็ตเตรียมเสนอปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บ


เมื่อวันที่ 27 กันยายน 54 ที่ห้องประชุมชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 3/2554 โดยมีคณะอนุกรรมการอัตราค่าแรงขั้นต่ำจังหวัดภูเก็ต ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากฝ่ายหน่วยงานราชการ ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณาปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำจังหวัดภูเก็ตจากวันละ 221 บาทเป็นวันละ 300 บาท
ทั้งนี้นายสุทธิ์พงศ์ สายสาคเรศ แรงงานจังหวัดภูเก็ตได้กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้มีการแถลงนโยบายบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 – 25 สิงหาคม 2554 โดยนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรกเกี่ยวกับนโยบายการเพิ่มรายได้ให้กับแรงงานและผู้จบปริญญาตรี ประกอบด้วย เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุล และความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาพ เพื่อดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้จบการศึกษาปริญญาตรีมีรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 15,000 บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี
ด้านนายวิจิตร ดาสันทัด ประธานสหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต คณะอนุกรรมการอัตราค่าแรงขั้นต่ำจังหวัดภูเก็ต ได้กล่าวว่า ได้มีการหารือกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีความเห็นที่แตกต่างกัน แต่สุดท้ายก็ได้ข้อสรุปว่า จะมีการนำเสนอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ตามที่ฝ่ายลูกจ้างเสนอ เพื่อให้เป็นไปตามภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น เพราะสินค้าต่างๆ ที่ผู้ใช้แรงงานต้องกินและใช้มีราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อัตราค่าแรงที่ได้รับอยู่นั้นยังไม่เพียงพอกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในฝ่ายนายจ้างเกรงว่าการปรับขึ้นค่าแรงจะทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น จึงต้องการให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือให้ชัดเจน เช่น มาตรการลดภาษี เพื่อลดต้นทุนด้านอื่นๆของนายจ้าง เป็นต้น แต่ทั้งนี้จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคณะกรรมการค่าจ้างกลางเป็นผู้อนุมัติ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2555 เป็นต้นไป
“การขอปรับค่าแรงขั้นต่ำของลูกจ้างนั้น เพื่อความเหมาะสมตามภาวะค่าครองชีพและเงินเฟ้อ ไม่ได้ทำตามนโยบายรัฐบาล เพราะผู้ใช้แรงงานจังหวัดภูเก็ตไม่ได้อิงนโยบายของรัฐบาล สิ่งสำคัญที่ลูกจ้างต้องการไม่ใช่การปรับขึ้นค่าจ้าง แต่เป็นมาตรการในการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เพราะแม้จะปรับค่าจ้างสูงขึ้นเท่าใดก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ตราบที่ยังไม่มีการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของผู้ใช้แรงงาน” นายวิจิตรกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น