จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เครือข่ายลุ่มน้ำโขง ค้านสร้างเขื่อนไซยะบุรีในลาว



เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 ที่โรงแรมโมเวนพิค รีสอร์ท แอนด์ สปา ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ชาวบ้านประมาณ 30 คน ตัวแทนเครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหาร และอุบล นำโดยนายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรี ที่จะสร้างกั้นแม่น้ำโขง ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศลาว


เนื่องจากเขื่อนดังกล่าวจะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศและวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขงทั้ง 4 ประเทศ ผ่านทางนายศักดา นพสิทธิ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย รวมทั้งยังได้ยื่นหนังสือคัดค้านการสร้างเขื่อนดังกล่าวต่อนายฮานส์ กุตต์แมน หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission หรือ MRC) ด้วย ในโอกาสที่มีการประชุม “แม่น้ำโขงสู่ริโอ” เรื่อง การรักษาสมดุลระความความต้องการด้านอาหาร น้ำและพลังงาน ซึ่งทางคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เนื่องจากคณะกรรมาธิการดังกล่าว เป็นคณะกรรมาธิการร่วมของ 4 ประเทศคือ ไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนาม มีหน้าที่กำกับดูการพัฒนาและปกป้องแม่น้ำโขง 


นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา กล่าวว่า เนื่องจากที่ผ่านมา MRC ไม่ทำหน้าที่รักษาข้อตกลงแม่น้ำโขงที่ทั้ง 4 ประเทศร่วมกันร่างขึ้นมาเมื่อปี 2538 ที่ว่าการจะกระทำการใดๆ อันเป็นผลกระทบต่อแม่น้ำโขง ต้องได้รับความเป็นชอบจากทั้ง 4 ประเทศก่อน และกรณีที่รัฐบาลลาวสนับสนุนให้ ช.การช่าง เริ่มสร้างเขื่อนไซยะบุรีไปแล้ว อันเป็นการฝ่าฝืนมติที่ประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขง เมื่อวันที่ 8 ธ.ค 54 ที่บอกว่าห้ามทำการใดๆ ในแม่น้ำโขงจนกว่าจะทำการศึกษาผลกระทบใหม่ให้แล้วเสร็จข้อดังนั้นจึงขอเรียกร้องตัวแทนเครือข่ายฯ คือ ให้ บ. ช การช่าง ยุติการสร้างเขื่อนไซยะบุรีโดยทันที ให้ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย ระงับการให้เงินกู้กับบริษัทดังกล่าว รวมทั้งขอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยกเลิกสัญญาที่ได้แอบลงนามในการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนแห่งนี้ 


จากการติดตามกรณีการพัฒนาโครงการในแม่น้ำโขงมาตลอด มีความกังวลใจอย่างยิ่งต่อโครงการเขื่อนไซยะบุรีที่อยู่ในพื้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเฉพาะกรณีที่ทางการลาวอนุญาตให้บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนและพยายามให้เหตุผลอธิบายต่อสังคมในลักษณะเข้าข้างตัวเอง ซึ่งเป็นการตีความมติคณะมนตรีแม่น้ำโขงเมื่อเดือนธันวาคม 2554 และข้อตกลงแม่น้ำโขง พ.ศ.2538 อย่างมีเล่ห์กล เพียงเพราะต้องการตอบสนองแบตเตอรี่แห่งเอเชีย โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับประชาชนลาว รวมถึงประเทศท้ายน้ำอีก 3 ประเทศ


ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงมองว่า โครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี จะสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อระบบนิเวศลุ่มน้ำโขง การอพยพของพันธุ์ปลา การประมง การเกษตร และความมั่นคงทางอาหารของชุมชนสองฝั่งแม่น้ำโขง ที่มีแม่น้ำโขงเป็นสายเลือดหล่อเลี้ยงชีวิตอันจะส่งผลไปสู่การบังคับให้อพยพย้ายถิ่น และการขาดแคลนอาหาร ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ชาวบ้านได้รับรู้ถึงผลกระทบของการสร้างเขื่อน 4 แห่ง ในประเทศจีน ซึ่งกั้นแม่น้ำโขงทางตอนบน ที่แม้จะอยู่ห่างไกลกว่าโครงการเขื่อนไซยะบุรี แต่ได้สร้างผลกระทบต่อคนลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าอย่างชัดเจน 


นายนิวัฒน์ กล่าวด้วยว่า เขื่อนไซยะบุรีจะทำลายระบบนิเวศ อันอุดมสมบูรณ์ของน้ำโขงตอนล่าง และวิถีชีวิตของคนริมฝั่งโขงหลายล้านคน เป็นความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรง กว้างขวาง และไม่อาจแก้ไขกลับคืนได้ การเดินหน้าก่อสร้างโครงการของ บริษัท ช. การช่าง ได้ละเมิดมติคณะมนตรีแม่น้ำโขง ที่ประชุมดันเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2554 ที่ประเทศกัมพูชา โดยที่ประชุมมีมติให้ทำการศึกษาชิ้นใหม่ เพื่อประเมินผลกระทบจากเขื่อนบนแม่น้ำโขงอย่างรอบด้าน และ 4 ประเทศสมาชิก MRC ยังไม่ให้ฉันทามติต่อการก่อสร้างโครงการเขื่อนไซยะบุรีแต่อย่างใด 


 “เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลลาวคำนึงถึงจิตวิญญาณแห่งความร่วมมือแห่งลุ่มน้ำโขง ทบทวนท่าทีในการสนับสนุนบริษัท ช.การช่าง ที่ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนอยู่ในขณะนี้ และรัฐบาลลาวจำเป็นต้องเคารพกติกาของประเทศในลุ่มน้ำ ตามกรอบข้อตกลงแม่น้ำโขง และหยุดโครงการเขื่อนดังกล่าวทันที พร้อมทั้งระงับการก่อสร้างในพื้นที่บริเวณลำน้ำโขง จนกว่าการศึกษาผลกระทบของ MRC จะแล้วเสร็จ มีการเผยแพร่และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในภูภาคอย่างรอบด้าน และมีส่วนร่วม” 


นายนิวัฒน์ กล่าวด้วยว่า หลังจากยื่นหนังสือแล้วก็จะได้ติดตามว่าทาง MRC จะมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง ซึ่งหากพบว่าไม่มีการดำเนินการใดๆ ก็จะรวมตัวกันปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ต่อไป แต่นั่นจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะดำเนินการ 


ขณะที่นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากที่ได้มีการประชุมร่วมกับทางรัฐมนตรีของประเทศลาว ได้รับการยืนยันว่าการสร้างเขื่อนดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบ และก่อนที่จะดำเนินการก็มีการศึกษารายละเอียดต่างๆ แล้ว รวมถึงเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย โดยการก่อสร้างปัจจุบันก็อยู่บนพื้นดินฝั่งของประเทศลาว ซึ่งเป็นไปตามเอกสิทธิของเขา แต่เขาก็รับปากว่าหากพบมีปัญหาก็พร้อมที่จะรับฟังและทำการแก้ไข 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น