จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ม.อ.ภูเก็ต เปิดเวทีนำเสนอผลงานวิชาการ ปี 57




เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 ที่ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตภูเก็ต รศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีฝ่ายระบบวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานเปิดงาน “ม.อ.วิชาการ ประจำปี 2557” การประชุมวิชาการนานาชาติ “The 3rd Annual PSU Phuket International Conference 2014” 


ซึ่งทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดขึ้น โดยมี รศ.ภูวดล บุตรรัตน์ รองอธิกการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต รศ. ดร. ปรารถนา กาลเนาวกุล คณบดีคณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต คณะครูอาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัยและผู้สนใจเข้าร่วม 


ภายในงานได้รับเกียรติจาก แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม บรรยายพิเศษ หัวข้อ “นิติวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาสังคมไทยที่ยั่งยืน” การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “เจาะแนวดีๆ กับผู้ชายชื่อสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ” โดยนายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ผู้ดำเนินรายการคนค้นคน นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรม การประกวดและการแข่งขันด้านภาษา IT รวมทั้งการนำเสนอผลงานทางวิชาการ อีกด้วย 


สำหรับการจัดประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและผลงานวิจัยในปีนี้ มีผู้ร่วมนำเสนอผลงานทั้งสิ้น 38 ผลงาน แบ่งเป็น การนำเสนอผลงานประเภทบรรยาย จำนวน 34 ผลงาน และการนำเสนอผลงานประเภทโปสเตอร์ จำนวน 4 ผลงาน และผู้เข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานวิจัยอีกจำนวนหนึ่งทั้งชาวไทยตลอดจนชาวต่างประเทศ อาทิ ประเทศ Malaysia, Indonesia, Philippines และ India มีผู้เข้าร่วมในส่วนของงานการประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก 


รศ. ดร. ปรารถนา กาลเนาวกุล คณบดีคณะการบริการและการท่องเที่ยว กล่าวว่า งาน ม.อ.วิชาการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี 2547 เพื่อเผยแพร่ภารกิจด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยให้สาธารณชนได้รับทราบ 


นอกจากนี้งานวิจัยถือเป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของมหาวิทยาลัย จึงเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาระดับปริญญาโทจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ได้ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการและงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน 


ภายใต้หัวข้อ “สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Multidisciplinary Studies on Sustainable Development) โดยแบ่งกลุ่มสาขาในการนำเสนอผลงานออกเป็น 4 กลุ่มสาขาดังนี้ 1. Environmental Technology and Management 2. Computer Science and Engineering 3. Hospitality and Tourism และ 4. Social Sciences and Humanities 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น