จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อบจ.ภูเก็ต เปิดเวทีประชาคมท้องถิ่นจัดทำแผนพัฒนา


เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2553 ที่ห้องประชุมโรงแรมเพิร์ล ภูเก็ต นายไพบูลย์ อุปัติฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.ภูเก็ต เป็นประธานการประชุมสัมมนาประชาคมท้องถิ่น การจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจำปี พ.ศ. 2554-2556 และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 4 ปี พ.ศ.2554-2557 โดยมีผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ผู้แทนองค์กรภาคประชาชน ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมเสนอความคิดเห็น

นายอยุธ บางหลวง รองปลัด อบจ.ภูเก็ต กล่าวว่า อบจ.ภูเก็ต ได้กำหนดการจัดเตรียมทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาสามปี โดยการรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้าน และให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัด นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ให้สามารถนำมาแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง จึงได้มีการจัดสัมมนาขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคประชาชน ภาคเอกชนที่มีต่อทิศทางการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต รับทราบปัญหาและความต้องการของประชาชนชนในจังหวัดภูเก็ตในภาพรวม เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 ตลอดจนเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2554 ด้วย

ขณะที่นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายก อบจ.ภูเก็ต กล่าวว่า ในการแถลงนโยบายการบริหารงานนั้นได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ 8 ด้าน ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุข ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหาร การเมือง การปกครอง โดยในการพัฒนาด้านต่างๆ นั้นจำเป็นที่จะต้องฟังความเห็นอย่างรอบด้าน เพื่อจะได้จัดทำโครงการให้ตรงกับความต้องการและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง

“ในส่วนของ อบจ.ภูเก็ตนั้นสามารถจัดเก็บรายได้ได้ปีละประมาณ 700 ล้านบาท ซึ่งแผนงานในปีหน้านั้นจะเน้นหนักไปยังการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งขณะนี้ก็มีท้องถิ่นเสนอความต้องการมาบ้างแล้ว เช่น กมลา ไม้ขาว เกาะแก้ว เป็นต้น รวมถึงการแก้ปัญหาความจำเป็นเร่งด่วนที่มีการนำเสนอเข้ามา ซึ่งเกินขีดความสามารถของท้องถิ่นที่จะดำเนินการได้เอง เช่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การจราจร เป็นต้น นายไพบูลย์ กล่าว

อย่างไรก็ตามภาพรวมของปัญหาที่มีการเสนอเพื่อให้ทาง อบจ.จัดสรรงบประมาณลงไปแก้ไขและช่วยเหลือ เช่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การคมนาคมขนส่ง ปัญหาด้านสาธารณสุข การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม การแก้ปัญหาขยะ การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค การขาดแคลนครูบุคลากรด้านการศึกษา การติดตั้งป้ายบอกทางและป้ายต้อนรับภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษายาวี เป็นต้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น