จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รักษาความปลอดภัยวัสดุกัมมันตรังสีประเทศไทย



เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ห้องประชุม โรงแรม พันวาบีช รีสอร์ท ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ประธานเปิดการประชุม The 4 th Regional Review Meeting on Radiological Security Partnerships ซึ่งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้น โดยมีนายสุพรรณ แสงทอง เลขาธิการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนจากประเทศต่างๆ จำนวน 17 ประเทศ รวม 40 คน และผู้แทนจากไทย 5 คน 


นายสุพรรณ แสงทอง เลขาธิการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่า การจัดประชุมครั้งนี้ เพื่อให้มีเวทีที่ตัวแทนจากประเทศต่างๆ และองค์กรระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกในเครือข่าย Radiological Security Partnerships ได้มาถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเสนอให้ความช่วยเหลือในการพัฒนา หรือยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยวัสดุกัมมันตรังสี เพื่อแสดงศักยภาพของประเทศไทย โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยวัสดุกัมมันตรังสี 


ซึ่งหัวข้อการประชุม ได้แก่ ความรู้ทางเทคนิคเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยวัสดุกัมมันตรังสี มาตรการแนวปฏิบัติ หรือข้อแนะนำในการ รักษาความมั่นคงปลอดภัยวัสดุกัมมันตรังสี ประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยวัสดุกัมมันตรังสี และแผนการดำเนินงานในอนาคตเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย วัสดุกัมมันตรังสี 


โดยวิทยากรจากตัวแทนประเทศสมาชิกเครือข่าย และผู้เชี่ยวชาญจาก ทบวง กรม และองค์กรระหว่างประเทศ มี National Nuclear Security Administration (NNSA), Global Threat Reduction Initiative (GTRI), United States Department of Energy (US.DOE.)แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ให้การสนับสนุนเรื่องงบประมาณ ซึ่งการเลือกจังหวัดภูเก็ตเป็นสถานที่ประชุม เพื่อให้ ทางจังหวัดภูเก็ตดำเนินการขยายผลต่อไป เพราะปกติการได้รับรังสี 


ด้านนายกิตติศักดิ์ ชินอุดม ผู้อำนวยการ สำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่า มีความกังวลในการนำสารกัมมันตรังสีไปใช้ไม่ถูกวิธี เพราะสามารถเกิดอุบัติเหตุได้ดังนั้นทางสหรัฐอเมริกา และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ จึงต้องการให้มีการประชุมเรียนรู้ วิธีการจัดเก็บ ความปลอดภัยของวัสดุกัมมันตรังสีที่ร้ายแรงมาก ทั้งนี้ ประเทศไทย มีกฎหมายในการดูแลวัสดุกัมมันตรังสีทุกประเภท ตั้งแต่อันตรายร้ายแรงสูงสุดลงมาจนถึงทั่วไป ตั้งแต่ พ.ศ.2504 การนำวัสดุกัมมันตรังสีไปใช้ในงานต่างๆ ต้องมีการขออนุญาตใช้ และมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการจัดเก็บได้ปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน 


MR.BRYAN R. REED (Foreign Affairs Specialist Program Manager US Department of Energy National Nuclear Security Administration Global Threat Reduction Intiative) ผู้แทนสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการแสดงความร่วมมือของภูมิภาคอาเซียน และในอนาคต ไทยได้รับโอกาสอันดีเป็นเจ้าภาพเลือกจังหวัดภูเก็ต เพราะเป็นจังหวัดที่มีธรรมชาติสวยงามมาก ซึ่งในที่ประชุมครั้งนี้ จะหารือการดำเนินการปฏิบัติร่วมกับนานาชาติที่เหมาะสมเกี่ยวกับกัมมันตรังสี เพื่อนำเข้าประเด็นหลักของการประชุมสุดยอดความมั่นคงในนิวเคลียร์ที่จะจัดขึ้นในเดือนมีนาคมนี้ที่กรุงเฮค ดังนั้นสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญด้านนี้มาก 


ส่วนนายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า นานาชาติให้ความสำคัญกับภูเก็ตเป็นอย่างมาก และการที่ทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเลือกจังหวัดภูเก็ตจัดการประชุม เป็นครั้งแรก ทำให้ผู้ร่วมประชุมเกิดความประทับใจในการต้อนรับของคนไทยและธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งการที่สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ จัดประชุมนานาชาติครั้งนี้ หากมีแนวคิดให้ภูเก็ตสานต่อเกี่ยวกับพลังงาน ทางจังหวัดภูเก็ตจะมอบให้พลังงานจังหวัดดำเนินการ ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องสนับสนุนดำเนินการต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น