จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ภูเก็ตยังไม่พบปัญหาในโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ

ภูเก็ตยังไม่พบปัญหาในโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ 
งบประมาณ 19 ล้านบาทเศษ ชุมชนเสนอ 59 โครงการ 


เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2560 ที่ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานแถลงข่าวผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนของจังหวัดภูเก็ต โดยมีนายปารเมศ ทองปรีชา เกษตรจังหวัดภูเก็ต หัวหน้าส่วนราชการ กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจาก 16 ตำบล 21 ชุมชนที่จัดทำโครงการฯ และสื่อมวลชน เข้าร่วม โอกาสนี้มีชุมชนที่เข้าร่วมโครงการได้มีการจัดนิทรรศการำเสนอผลการดำเนินการด้วย 


นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนของจังหวัดภูเก็ต ดำเนินโครงการในพื้นที่ครอบคลุม 3 อำเภอ 16 ตำบล 21 ชุมชน แบ่งเป็นโครงการด้านการผลิตพืชและพันธุ์พืช 12 โครงการ, ด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 12 โครงการ, ด้านการจัดการศัตรูพืช 2 โครงการ, ด้านฟาร์มชุมชน 2 โครงการ, ด้านการผลิตอาหาร การแปรรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร 10 โครงการ, ด้านปศุสัตว์ 8 โครงการ, ด้านประมง 11 โครงการ และด้านการปรับปรุงบำรุงดิน 2 โครงการ รวมทั้งหมดจำนวน 59 โครงการ ใช้งบประมาณรวม 19,724,700 บาท ขณะนี้มีการ เบิกจ่าย 19,543,162.63 บาท (ร้อยละ 99.08) คงเหลือ 181,537.37 บาท 


สำหรับผลการดำเนินโครงการในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าประสบความสำเร็จ เป็นที่น่าพอใจ และยังไม่พบปัญหาการทุจริต จากจำนวนสมาชิกในชุมชนทั้งหมดในจังหวัดภูเก็ต 948 ราย มีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว จำนวน 14,998 ราย และสามารถสร้างรายได้ให้กับแรงงานในชุมชนเฉลี่ยคนละ 6,000 บาท/เดือน ด้านความยั่งยืน เกษตรกรร้อยละ 90 มีการดำเนินการต่ออย่างต่อเนื่อง โดยการบริหารจัดการรายได้ที่ได้มาเป็นทุนหมุนเวียน โดยกลุ่มมีเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 50,000 – 150,000 บาท/กลุ่ม 


นอกจากนี้ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายและการเชื่อมโยง ได้แก่ เครือข่ายตามประเภทโครงการ เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ การเชื่อมโยงเพื่อเอื้อประโยชน์ด้านการผลิต การลดต้นทุน และการตลาด โดยมีศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรหรือ ศพก. และเครือข่ายเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาภาคการเกษตรของชุมชนให้มีส่วนร่วมแบบประชารัฐอย่างยั่งยืนโดยพัฒนาความร่วมมือกับบริษัทประชารัฐ รักสามัคคี จังหวัดภูเก็ต ที่จะมาส่งเสริมด้านการตลาด 


ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแล้วยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการทำงานในพื้นที่ ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์และนำไปปฏิบัติจริง เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นและชุมชนอันจะส่งผลต่อเนื่องให้ภาคการเกษตรมีความเข้มแข็งต่อไป 
 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น