
จากผลสำรวจการประเมินเด็กไทยในปัจจุบัน พบว่า ด้านการคิดวิเคราะห์นั้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำมาก เพราะฉะนั้น โรงเรียนในสังกัดของ อบจ.ภูเก็ต จึงได้เล็งเห็นปัญหาด้านนี้ และต้องการพัฒนาเด็กในจังหวัดภูเก็ตให้มีศักยภาพในด้านการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข สามารถเรียนได้ตามความถนัดและความสนใจของตัวเอง โดยจะมีลักษณะการจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม เปรียบได้กับการเป็นนักวิจัยตัวน้อยๆ ที่มีครูคอยเป็นผู้ดูแลช่วยเหลือ
หัวใจสำคัญที่สุดของการจัดการเรียนการสอนแบบ Project Approach คือ เด็กทุกคนจะต้องสามารถถามคำถามได้อย่างหลากหลาย และมีกระบวนการคิดที่เป็นระบบ นอกจากนี้แล้ว ในด้านอื่นๆ เรายังสามารถบูรณาการเข้าไปร่วมกับวิชาต่างๆ ได้ ทั้งภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ตามวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ที่เน้นเรื่องความรู้ คู่คุณธรรม ในโครงการนี้เราก็เน้นความมีคุณธรรมควบคู่ไปด้วย เมื่อเด็กได้เรียนตามกระบวนการขั้นตอนแล้ว เด็กของเราทุกคนก็จะสามารถแสดงผลงานได้ด้วยตัวเอง ตรงนี้จึงถือว่าเป็นเป็นหัวใจของการเรียนการสอนแบบ Project Approach และโรงเรียนก็เล็งเห็นว่า พื้นฐานของการศึกษาที่สำคัญนั้น จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งเด็กวัยนี้ถือเป็นรากฐานของการศึกษา ถ้าเมื่อไหร่เด็กปฐมวัยมีพื้นฐานการเรียนที่มั่นคงแล้ว หรือมีศักยภาพที่ดีพอ ก็จะส่งผลต่อการเรียนในอนาคตด้วย
ด้าน นางสาวภัทราพร โภคบุตร หัวหน้างานวิชาการ โรงเรียน อบจ.สาธิตร่วมพัฒนา กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบ Project Approach หรือว่าการสอนแบบโครงการ เพื่อให้เด็กได้ศึกษาการเรียนการสอนอย่างลึก ซึ่งไม่ได้เน้นการท่องจำ แต่จะมีการสอนทั้งหมด 3 ขั้นตอน โดยใช้กระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 1 คือ การหาความสนใจของนักเรียน ซึ่งเมื่อได้เรื่องที่เด็กส่วนใหญ่สนใจแล้ว ก็จะนำเด็กๆ เข้าทำการค้นคว้า สำหรับขั้นที่ 2 และ 3 คือ การสรุปโครงการ โดยรวบรวมสิ่งที่เด็กเรียนรู้ทั้งหมดมาจัดเป็นระบบว่า เด็กได้เรียนรู้อะไร และสามารถค้นพบคำตอบของตัวเองได้อย่างไรบ้าง ซึ่งความรู้ที่ค้นพบ เด็กจะสามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยมีกระบวนการคิดที่เป็นขั้นตอนมากขึ้น เพราะเด็กแสวงหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง โดยคุณครูไม่ได้บอกคำตอบตั้งแต่ตอนแรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น