จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

วางมาตรการการเลี้ยงสัตว์น้ำลดกีดกันทางการค้า


นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุม คณะอนุกรรมการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 (5th Session FAO COFI Sub committee on Aquaculture) ซึ่งประเทศไทย โดยกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ FAO เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ว่า การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมกับ FAO เนื่องจากเล็งเห็นโอกาสในการที่ประเทศไทยจะได้แสดงให้ทั่วโลกได้เห็นศักยภาพด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จนก้าวสู่การเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้าประมงจากการเพาะเลี้ยงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้แก่ประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียงที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่เป็นจำนวนมาก

“การประชุมครั้งนี้มีเนื้อหาการประชุมทั้งสิ้น 6 ประเด็น ได้แก่ 1.ความก้าวหน้าการดำเนินการตามมาตรการการทำประมงอย่างรับผิดชอบ ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศสมาชิก 2.แนวทางปฏิบัติในการตรวจรับรองการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือ Guidelines on Aquaculture Certification 3.ความปลอดภัยทางชีวภาพในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 4.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 5.การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณนอกเขตชายฝั่ง และ 6.กระบวนการจัดทำสถิติด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ”

นายธีระ กล่าวด้วยว่า หลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยและ FAO ได้ดำเนินการร่วมมือกับประเทศสมาชิกเพื่อรับมือกับปัญหาด้านการผลิตอาหารและการเกษตร กิจกรรมด้านการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นสิ่งที่ FAO ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นกิจกรรมหลักที่เอื้อต่อการผลิตสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคของประชากรโลก จากรายงานในปัจจุบันของ FAO อัตราการจับสัตว์น้ำและการผลิตสัตว์น้ำที่ได้จากการเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อบริโภคในปี 2549 มีปริมาณ 110 ล้านตัน สัดส่วนการผลิตที่มาจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ร้อยละ 47 โยในร้อยละ 89 ของผลผลิตมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าอันดับแรกของผลิตสัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง หากพิจารณาถึงการผลิตกุ้งประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกกุ้งอันดับ 1 มาเกือบสองทศวรรษ

ขณะที่ ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวเสริมว่า 1 ใน 6 ประเด็นที่มีการหารือนั้น ที่สำคัญคือ แนวทางการปฏิบัติในการตรวจสอบรับรองการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งได้มีการริมเริมมาตั้งแต่ปี 2549 และหวังว่าครั้งนี้จะสามารถทำการรับรองได้ เพื่อประเทศสมาชิกจะได้นำไปใช้ ลดผลกระทบจากปัญหาการกีดกันทางการค้า และจะทำให้เกิดความโปร่งในการปฏิบัติในการตรวจสอบ ตลอดจนการปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ของทางด้านผู้ผลิต เพราะที่ผ่านมาแต่ละประเทศต่างก็จะมีการรับรองมาตรฐานที่แตกต่างกันจึงก่อให้เกิดปัญหาตามมา

ด้านนาย KEVEM COCHRANE ผู้อำนวยกองการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการอนุรักษ์การใช้ทรัพยากร สำนักงาน FAO กล่าวว่า การประชุมของอนุกรรมการฯ เพื่อให้สมาชิกฯได้มาร่วมหารือในประเด็นต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน และเสนอแนะนโยบายต่อกรรมาธิการของ FAO ว่าควรจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสมาชิก ซึ่งก่อนที่จะลงมติใดๆ ออกมาก็จะมีการประชุมหารือร่วมกันเช่นเดียวกับการอออกแนวทางเพื่อตรวจสอบรับรองการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งได้มีการหารือกันจนได้ข้อสรุปแล้ว และหวังว่าจะสามารถลงมติรับรองแนวทางดังกล่าวได้ในการประชุมครั้งนี้

ส่วนนาย Jia Jiason หัวหน้าส่วนการบริการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กล่าวว่า ในเรื่องของการจัดทำแนวทางออกใบตรวจสอบรับรองการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ข้อสรุปหมดแล้ว เหลือเพียง 1 ประเทศที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลของเขา ซึ่งนั้นเป็นการประชุมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้เดือนกันยายนแล้วก็น่ามีข้อสรุปออกมาในทางที่ดี แต่คงยังไม่สามารถให้ข้อมูลได้มากนักว่าเป็นอย่างไร เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนหากยังคงเป็นเช่นเดิมจะดำเนินการอย่างไรต่อไป คงต้องรอผลสรุปจากการประชุมร่วมกันก่อน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น