จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พบสาเหตุหลักเต่าทะเลเสียชีวิตมาจากปัญหาเศษอวน

นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กล่าวว่า จากกรณีชาวบ้านพบซากของเต่ามะเฟืองถูกคลื่นซัดลอยมาเกยตื้นบริเวณชายหาดบางเทา ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ตเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเป็นเต่าเพศผู้ อายุประมาณ 20 ปี น้ำหนัก 300 – 400 กิโลกรัม ความยาวลำตัวประมาณ 2 เมตร คาดว่าเสียชีวิตมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อไปตรวจหาสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริง

“เต่ามะเฟืองเพศผู้ถือว่าเป็นเต่าที่หายากที่สุด เพราะที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเพศเมียซึ่งขึ้นมาวางไข่ การสูญเสียเต่ามะเฟืองเพศผู้ครั้งนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เบื้องต้นสันนิษฐานว่าเต่ามะเฟืองที่เสียชีวิตดังกล่าวน่าว่ายน้ำเข้าฝั่งมาหาเต่าตัวเมียเพื่อทำการผสมพันธุ์ และเมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะส่งผลต่อการขยายพันธุ์ของเต่ามะเฟืองด้วย เนื่องจากระยะนี้เป็นฤดูของการผสมพันธุ์ของเต่าทะเล และเต่ามะเฟืองก้เป็นเต่าอีกประเภทหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์ไปทุกที”

นายก้องเกียรติ กล่าวด้วยว่า เพื่อลดการสูญเสียชีวิตของสัตว์ทะเลหายาก รวมทั้งเต่ามะเฟืองด้วย จึงอยากขอความร่วมมือจากประชาชน โดยเฉพาะชาวประมง ในการช่วยกันอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลโดยไม่ทิ้งเศษอวน ถุงพลาสติกและวัสดุต่างๆ ที่ย่อยสลายยากลงไปในทะเล เนื่องจากวัสดุประเภทถุงพลาสติกนั้นเต่าทะเล คิดว่าเป็นแพงกะพรุนจึงกินเข้าไป แล้วก่อให้เกิดปัญหาระบบภายในและส่งผลให้เต่าทะเลตายได้ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลพบว่าเต่าทะเลเสียชีวิตจากการกินถุงพลาสติกสูงถึง 5% ส่วนเศษอวนน่าเป็นห่วงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอวนลอยหรืออวนลาก เพราะเป็นเครื่องมือการทำประมงที่ส่งผลกระทบต่อเต่าทะเลมาก ที่สุด และเป็นสาเหตุหลักถึง 60% ที่ทำให้เต่าทะเลได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องมาร่วมกันดูแลอย่างจริงจัง

อย่างไรก็ตามนายก้องเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างจริงจังแล้ว สิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป คือ การใช้กฎหมายคุ้มครองเต่าทะเล ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอเพื่อขอขยายเขตคุ้มครองเต่าทะเลระหว่างการผสมพันธุ์และวางไข่ จากเดิมมีการคุ้มครองในระยะ 3 กิโลเมตรจากชายฝั่ง แต่จะขอขยายออกไปเป็น 6 กิโลเมตรจากชายฝั่ง เพราะจากการศึกษาวงจรชีวิตของเต่าทะเลโดยการติดสัญญาณดาวเทียม พบว่าเมื่อถึงช่วงฤดูการผสมพันธุ์เต่าทะเลทั้งตัวผู้และตัวเมียจะว่ายน้ำมาหากินอยู่ในพื้นที่บริเวณ 6 กิโลเมตรห่างจากชายฝั่ง ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ของทุกปี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น