จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กองทุนอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดุสิตธานี



เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 53 ที่โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานนำเสนอข้อมูล “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดุสิตธานี” ขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางให้ข้อมูลกับนักลงทุนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ก่อนหน้านี้ได้เดินทางไปให้ข้อมูลนักลงทุนที่ จ.เชียงใหม่และขอนแก่นมาแล้ว

นายชนินทธ์ โทณวณิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมออกและเสนอขายกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดุสิตธานี ให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกประมาณปลายเดือน พ.ย.นี้ โดยกองทุนดังกล่าวจะลงทุนด้วยการซื้อกิจการโรงแรม ดุสิตธานี ลากูน่าภูเก็ต และโรงแรมดุสิตดีทู เชียงใหม่ รวมทั้งจะเข้าลงทุนในสิทธิการเช่าระยะเวลา 30 ปีในโรงแรม ดุสิตธานี หัวหิน รวมมูลค่ากองทุนประมาณ 4,000 ล้านบาท นับเป็นกองทุนที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทโรงแรม กองทุนแรกที่ลงทุนในสินทรัพย์หลายโรงแรม ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างดี และยังเป็นกองทุนประเภทโรงแรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยผู้เช่า คือ บริษัทดุสิต แมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) (DTC) ถือหุ้น 99-99% จะเช่าทั้ง 3 โรงแรมจากกองทุนด้วยค่าเช่าคงที่และค่าเช่าแปรผัน ซึ่งจะช่วยสร้างให้ความมั่นใจและมั่นคงของผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการอนุมัติจัดตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ต.ล.)

ด้านนายสมชัย บุญนำศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการ “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดุสิตธานี” กล่าวว่า กองทุนดังกล่าวจะเข้าลงทุนโดยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ (Freehold) ในที่ดิน อาคาร และงานระบบสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องกับโรงแรมและเฟอร์นิเจอร์ ทรัพย์สินติดตรึงราคาและอุปกรณ์ต่างๆ ของโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่าภูเก็ต และโรงแรมดุสิตดีทู เชียงใหม่ รวมทั้งลงทุนในสิทธิการเช่า (Leasehold) เป็นระยะเวลา 30 ปี ในที่ดิน อาคาร และงานระบบสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเฟอนิเจอร์ทรัพย์สินติดตรึงตรา และอุปกรณ์ต่างๆ ของโรงแรม ดุสิตธานี หัวหิน โดยสัดส่วนการลงทุนในกองทุนนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มากกว่า 75%

นอกจากจุดเด่นของทรัพย์สินและความหลากหลายในแต่ละทำเลของโรงแรมในเครือดุสิตธานี ซึ่งอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยว ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับชาวไทยและต่างประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตในอนาคตแล้ว ทาง DTC ยังรับประกันรายได้ค่าเช่าขั้นต่ำรายปีของโรงแรมทั้ง 3 แห่ง สำหรับระยะเวลา 4 ปีแรกอีกด้วย เพื่อให้นักลงทุนได้รับอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลในอัตราที่น่าพอใจ โดยกองทุนรวมคาดว่าจะจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยปีละครั้ง ทั้งนี้ DTC ในฐานะเจ้าของทรัพย์สิน จะวางหนังสือที่ค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารในวงเงินค้ำประกันจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นหลักประกันการชำระรายได้ค่าเช่าให้กับกองทุนในช่วงสัญญาเช่า 4 ปีแรกอีกด้วย นายสมชัยกล่าว

ขณะที่นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิงเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากสินทรัพย์ในกองทุนรวมที่มีมูลค่าสูงสุดได้แก่ การลงทุนในกรรมสิทธิ์โรงแรม ดุสิต ธานี ลากูน่า ภูเก็ต รองลงมาคือ ดุสิตธานี หัวหิน และโรงแรม ดุสิตดีทู เชียงใหม่ นั้น พบว่าสอดคล้องกับความสามารถในการสร้างรายได้ ซึ่งโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยและอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยสูงที่สุด และเมื่อพิจารณาการบริหารจัดการโดยบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในการบริหารและจัดการโรงแรมมาอย่างยาวนานเป็นระยะเวลากว่า 60 ปี อีกทั้งแบรนด์ “ดุสิต” ยังจัดได้ว่าเป็น Regional Brand ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทำให้เชื่อมั่นว่าโอกาสและศักยภาพในการเติบโตของโรงแรมทั้ง 3 แห่ง จะสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมฯ ได้อย่างน่าพอใจ

นายสิทธิไชย มหาคุณ Head of Corporate & Equity Capital Market บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า จากการสัมมนาเพื่อให้ความรู้แก่นักลงทุนสถาบันในประเทศที่ผ่านมา นักลงทุนสถาบันหลายแห่งแสดงความสนใจการลงทุนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดุสิตธานี เนื่องจากเชื่อมั่นความสามารถในการบริหารโรงแรมของบริษัทดุสิตธานี ประกอบกับจุดเด่นของโครงสร้างกองทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงในหลายทำเลที่ตั้ง รวมทั้งขนาดของกองทุนที่มีขนาดใหญ่เพียงพอ น่าจะสนับสนุนสภาพคล่องในตลาดรองได้เป็นอย่างดี ต้องยอมรับว่าโครงสร้างกองทุนที่ลงทุนในหลายสินทรัพย์ และขนาดกองทุนที่ใหญ่เพียงพอ เป็นโครงสร้างกองทุนที่ได้รับการยอมรับในตลาดต่างประเทศ อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกง ซึ่งมีผลทางอ้อมทำให้ราคาซื้อขายในตลาดรองอยู่ในระดับที่น่าพอใจอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น