จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ศปป.4 กอ.รมน.ติดตามการทำลายป่าไม้


 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 54 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต พล.ท.เอกนันท์ รัตนโสภา ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กองอำนวยการความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ศปป.4 กอ.รมน.) กล่าวภายหลังเข้าพบนายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์การทำลายทรัพยากรป่าไม้และการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติของจังหวัดภูเก็ต ว่า ในส่วนของปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้นั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกจังหวัด แต่จะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพของพื้นที่ ซึ่งในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้นพบว่ามีปัญหาการบุกรุกป่าไม้ไม่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ แต่ด้วยภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญ สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละมหาศาล โดยมีความเป็นธรรมชาติเป็นจุดขายหลัก ดังนั้นหากไม่ช่วยกันดูแลรักษาก็ย่อมที่จะส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและรายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนในพื้นที่ เพราะจากข้อมูลที่ได้รับพบว่าผู้ทำการบุกรุกนั้นมีทั้งประชาชนทั่วไป และการแอบแฝงของกลุ่มนายทุนหรือผู้มีอิทธิพลที่ว่าจ้างให้ประชาชนบุกรุกพื้นที่ซึ่งเป็นของรัฐ
ส่วนของภัยธรรมชาติส่วนหนึ่งเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากการบุกรุกแผ้วถางทำลายป่าไม้ โดยเฉพาะพื้นที่บนภูเขา ดังนั้นเมื่อปริมาณน้ำฝนมีเป็นจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดปัญหาดินสไลด์หรือดินถล่มเหมือนกับหลายๆ จังหวัดใกล้เคียงที่ประสบปัญหามาก่อนหน้านี้ เนื่องจากไม่มีต้นไม้ที่จะไปดูดซับน้ำไว้ แม้ว่าครั้งที่ผ่านมาภูเก็ตอาจจะโชคดี แต่ก็ไม่เสมอไป ซึ่งหากยังคงปล่อยปละละเลยและไม่มีการเข้าไปดูแลอย่างจริงจังก็จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคตได้ และย่อมที่จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในภาพรวมด้วย
อย่างไรก็ตามสำหรับภัยพิบัติขนาดใหญ่ซึ่งภูเก็ตเคยประสบมาแล้วเมื่อปี 2547 และปัจจุบันภูเก็ตก็ยังเป็นพื้นที่เสี่ยง ซึ่งที่ผ่านมาทราบว่าในส่วนของจังหวัดภูเก็ต โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต ได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ จัดทำแผนและฝึกซ้อมอพยพหนีภัยให้กับประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นก็ไม่น่าเป็นห่วง แต่ในส่วนของนักท่องเที่ยวที่หมุนเวียนเดินทางเข้ามานั้นจะไม่ทราบว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะอพยพไปยังจุดใด โดยเฉพาะหากเกิดเหตุในช่วงเวลากลางคืน จึงจำเป็นที่พนักงานในโรงแรมที่พักหรือสถานประกอบการต่างๆ จะต้องเข้ามาให้การดูแลช่วยเหลือนำพาไปยังจุดปลอดภัย รวมทั้งในการฝึกซ้อมนั้นควรมีการตั้งสมมติฐานที่ค่อนข้างวิกฤตและเวลาค่อนข้างสั้นก่อนคลื่นที่จะมาถึง เพื่อให้มีความชำนาญอย่างแท้จริง ซึ่งในส่วนของ ศปป.4 กอ.รมน.พร้อมเป็นกำลังเสริมเพื่อเติมในส่วนที่ยังขาดอยู่ นอกจากนี้ยังฝากในเรื่องการจัดตั้งศูนย์บัญชาการการทำงานเพื่อให้เกิดการทำงานเป็นระบบ รวมทั้งการติดตั้งระบบวิทยุสื่อสารให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งเกาะ เนื่องจากเมื่อเกิดขึ้นระบบโทรศัพท์จะไม่สามารถใช้การได้ ทั้งนี้หากมีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือจากส่วนกลางทาง ศปป.4 กอ.รมน.ก็พร้อมที่จะเป็นผู้ประสานงานให้ เพราะเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี พล.ท.เอกนันท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น