จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ดึงอปท.ร่วมเวทีเสวนาพัฒนาการศึกษาภูเก็ต



เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556 ที่ห้องจามจุรี 2 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต จัดการประชุมเสวนาการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2556 กิจกรรมการเสวนาในหัวข้อ "แนวทางการมีส่วนร่วมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษา” 



มีวิทยากรประกอบด้วย นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.ภูเก็ต) นายบัณฑูร ทองตัน ประธานสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต และนายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การประถมศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต โดยมีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย นายก/รองนายกที่รับผิดชอบการศึกษา และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ อบจ.ภูเก็ต เทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล รวม 19 ท้องถิ่น และผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ตทุกแห่ง


การประชุมและเสวนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานจากการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ตกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย


นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การประถมศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต กล่าวว่า ในการพัฒนาการศึกษานั้นกฎหมายกำหนดชัดเจนว่า จะต้องให้มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเก่ง ดีและมีความสุข ดังนั้นการจัดเสวนาครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการดึงภาคส่วนต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการศึกษาของภูเก็ตไปด้วยกัน ทั้งเขตพื้นที่ฯ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสภาการศึกษาฯ เพราะการจัดการศึกษาไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่ทุกภาคีเครือข่ายจะต้องช่วยกัน ตามปกบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน และจะต้องทำอย่างจริงจัง 


ขณะที่นายบัณฑูร ทองตัน ประธานสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การจะพัฒนาการศึกษานั้นจะต้องได้รับความส่วนร่วมมือจากทุกภาคส่วน และนับเป็นความโชคดีของจังหวัดภูเก็ตที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งให้ความสำคัญ และลงมาดูแลมากกว่าท้องถิ่นในจังหวัดอื่นๆ นับตั้งแต่อดีตในยุคการทำเหมืองแร่ ซึ่งคนจีนมาเป็นกุลีและกรรมกร ไม่ต้องการที่จะลูกหลานลำบาก และมองว่าจะต้องให้ทำอาชีพอื่น ซึ่งการจะทำอาชีพอื่นได้นั้นก็จะต้องได้รับการศึกษา จนกลายเป็นพื้นฐานสำคัญของคนภูเก็ตที่จะต้องให้ลูกหลานได้รับการศึกษา 


“จากจุดเล็กๆ ของโครงการคัดเลือกครูสอนดี โดยภูเก็ตเป็น 1 ใน 5 จังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นจังหวัดนำร่องการปฎิรูปการศึกษา จนกลายเป็นแบบที่กระทรวงศึกษาธิการจะจับตามองเป็นพิเศษว่ามีการขับเคลื่อนอย่างไร นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนทั้งจาก อบจ.ภูเก็ต และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาในลำดับต้นๆ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากหากต้องการพัฒนาการศึกษาของภูเก็ตให้ทัดเทียมกับสิงคโปร์ โดยความร่วมมืออย่างจริงจังของทุกภาคส่วน” 


ทางด้านนายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายก อบจ.ภูเก็ต กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาทาง อบจ.ภูเก็ตให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นลำดับต้นๆ นอกจากการจัดงบประมาณเข้าไปช่วยเหลือในเรื่องของการซ่อมแซมอาคารสถานที่ การจ้างครูอัตราจ้าง และอื่นๆ แล้ว ยังมีการจัดให้ผู้บริหารโรงเรียนได้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศไต้หวัน และพบว่า เมื่อกลับมาภูเก็ตแล้วมีผู้บริหารหลายโรงเรียนที่นำมาใช้ในการพัฒนาโรงเรียนของตนเอง เช่น โรงเรียนปัญญานุกูล 


ซึ่งสามารถสอนให้เด็กพิเศษแยกขยะได้ เป็นต้น ดังนั้นในการมาพบปะกันนั้นจึงอยากให้ทุกฝ่ายได้สะท้อนปัญหาที่แท้จริงเพื่อจะได้หาแนวทางในการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง แต่น่าเสียดายว่า ครั้งนี้ยังขาดในส่วนของภาคเอกชน ซึ่งถือว่าสำคัญ เพราะในอดีตการพัฒนาของภูเก็ตจะขับเคลื่อนโดยเอกชนเป็นหลัก เห็นได้จากโรงเรียนหลายแห่งซึ่งทางภาคเอกชนเป็นผู้สร้างให้ และปัจจุบันมีภาคเอกชนก็พร้อมที่จะเข้ามาช่วยในเรื่องของการศึกษา 


“เมื่อ 5 ปีก่อนภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวเข้ามาปีละประมาณ 5 ล้านคน แต่ปัจจุบันจำนวนนักท่องเที่ยวมีมากถึง 10 ล้านคน ทำให้ปัญหาต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้น 3-4 เท่าตัว ซึ่งรวมถึงเรื่องของการศึกษาด้วย เนื่องจากจะมีการเดินทางเข้ามาทำงาน และจะต้องเอาบุตรหลานมาด้วย ส่งผลให้สถานศึกษาต่างๆ มีจำนวนเด็กนักเรียนค่อนข้างมาก ดังนั้นการทำงานต่อจากนี้จะต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เพื่อรู้เท่าทันกับปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถรับมือได้“ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น