จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

ฝึกอบรมเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ


เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 ที่ห้องประชุมชั้น 3 เทศบาลตำบลวิชิต อ.เมือง ภูเก็ต นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ (ทสม.น้อย) รุ่นที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2554 โดยมี นายประดิษฐ์ แสงจันทร์ ประธานสภา นายธีระ เจี่ยสกุล เลขานุการสภา นายกรีฑา แซ่ตัน นายกเทศมนตรีวิชิต นางพรพิมล โพธิสุวรรณรัตน์ ประธานเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม/หมู่บ้านจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ พี่น้องประชาชนในพื้นที่ตำบลวิชิต และประชาชนที่เป็นแกนนำเครือข่าย ทสม.น้อย จำนวน 75 คน เข้าร่วมในการอบรม

สำหรับกิจกรรมการฝึกอบรมในครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการที่เครือข่าย ทสม. ได้ขยายเครือข่ายและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิด โดยเฉพาะขยะอินทรีย์และขยะรีไซเคิลออกจากขยะทั่วไปในหลายตำบลของพื้นที่จังหวัดภูเก็ต แต่ยังไม่ครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัดภูเก็ต โดยในปีงบประมาณ 2554 นี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณให้ขยายเครือขาย ทสม. เพิ่มอีก 6 ตำบล จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งการจัดอบรมในครั้งนี้ เป็นการอบรมในรุ่นที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แกนนำในชุมชน และเยาวชน แกนนำที่จะเป็นเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น โดยสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและในโรงเรียนได้ ซึ่งแกนนำ ชุมชน และเยาวชนแกนนำ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของ ทสม.

นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายก อบจ.ภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านอสังหาริมทรัพย์และด้านธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลให้มีการโยกย้ายถิ่นฐานของประชากรในประเทศของจังหวัดต่างๆ เข้ามาอยู่อาศัยในจังหวัดภูเก็ตเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจอย่างไม่เป็นทางการพบว่ามีประมาณไม่ต่ำกว่า 600,000 คน ในขณะที่ผู้มีรายชื่อตามทะเบียนราษฎร์ของทางราชการมีเพียงประมาณ 320,000 คน ยังไม่รวมถึงต่างชาติและแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองอีกประมาณ 100,000 คน โดยรวมแล้วมีคนอาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ตประมาณ 1,000,000 คน ซึ่งจะเห็นว่าที่ใดที่มีคนอาศัยอยู่มากๆ ก็จะมีขยะมากตามไปด้วย เนื่องจากทุกคนต้องมีการจับจ่ายใช้สอยซื้อหาอาหารเมื่อเหลือจากการใช้ประโยชน์ส่วนหนึ่งก็จะกลายเป็นขยะ ดังนั้นหากทุกคนทิ้งขยะ หรือสิ่งของที่ตนคิดว่าไม่มีประโยชน์สำหรับตนแล้ว คนละ 1 ชิ้น จำนวน 1,000,000 คน จะเห็นว่ามีขยะมากมาย หากสะสมทุกวันขยะก็จะล้นเกาะภูเก็ตในอีกไม่นาน และในขณะนี้หากทุกท่านเดินทางไปไหนในจังหวัดภูเก็ตก็เริ่มจะเห็นว่ามีขยะตกค้างอยู่สองข้างถนนในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าทุกคนคงไม่อยากเห็นสภาพเช่นนี้และปัญหานี้แก้ได้ไม่ยาก หากทุกคน ทุกภาคส่วน ร่วมมือกันโดยการคัดแยกขยะก่อนที่จะทิ้งลงถัง เพราะจากการวิเคราะห์องค์ประกอบของขยะในจังหวัดภูเก็ต พบว่า 60% เป็นขยะอินทรีย์ 34% เป็นขยะรีไซเคิล ส่วนที่เหลือเป็นขยะทั่วไปและขยะอันตราย ดังนั้นหากได้มีการคัดแยกขยะอย่างจริงจังจากแหล่งกำเนิด ก็จะเหลือขยะที่ต้องทิ้งลงถังไม่ถึง 10% ของปริมาณขยะทั้งหมด สำหรับขยะที่ได้คัดแยกไว้ เช่น ขยะรีไซเคิลสามารถนำไปแปรสภาพเป็นปุ๋ยหรือน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้จังหวัดภูเก็ตมีความสะอาด น่าอยู่ มากยิ่งขึ้น แต่การจะทำเช่นนี้ได้จำเป็นต้องมีเครือข่ายทั้งภาคประชาชนและเยาวชนเป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้ไปยังชุมชนและสถานศึกษาให้ครอบคลุมมากที่สุด

การจัดการฝึกอบรมครั้งนี้ ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จึงขอให้ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมได้มีความตั้งใจและให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากร เนื่องจากทุกท่านล้วนมีประสบการณ์ในการปฏิบัติจริงที่สะสมมายาวนาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถที่จะบริหารจัดการขยะในชุมชนและสามารถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น