จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

คลังภูเก็ตติวเข้มคณะทำงาน GPP

คลังภูเก็ตติวเข้มคณะทำงาน GPP

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 ที่ห้องนนทรีย์ โรงแรมภูเก็ต เมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายวีระวัฒน์ จันทร์เพ็ญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน หลักสูตร การเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดแบบ Bottom up ซึ่งทางสำนักงานคลังจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับสำนักบัญชีประชาชาติจัดขึ้น ให้กับคณะทำงานการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดทั้ง 16 สาขาการผลิต ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16 แห่ง รวมประมาณ 40 คน โดยเป็นเนื้อหาของหลักสูตร เป็นการเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดทำ GPP จากข้อบกพร่องที่ตรวจพบในแต่ละขั้นตอนการประเมิน และการศึกษาดูงานการดำเนินงานของฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยมุก ณ เกาะรังใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต


นางธิดา บุญรัตน์ คลังจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การจัดทำระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ.2553 โดยกรมบัญชีกลางและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการ โดยปีงบประมาณ พ.ศ.2554 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ได้กำหนดตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัด คือ ตัวชี้วัด IT3: จังหวัดต้องมีระบบและสามารถคำนวณสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ที่ครอบคลุม ถูกต้องและทันสมัย

ทั้งนี้ผลการประเมินระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการจัดทำสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จังหวัดภูเก็ตได้ 4.9922 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 99.8440 ซึ่งจากการประเมินดังกล่าวพบว่าในการดำเนินการจัดทำฐานข้อมูล การประมาณค่าของแต่ละสาขาการผลิตยังไม่ครบถ้วน ตามจำนวนกิจกรรมที่มีในจังหวัด และหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่างของบางกิจกรรมยังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางสถิติ และบางกิจกรรมยังไม่มีหลักเกณฑ์การสุ่มตัวอย่างที่แน่นอน

ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดแบบ Bottom up ตลอดจนให้คณะทำงานการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภูเก็ต ได้เรียนรู้กระบวนการดำเนินงานจริงของสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตที่เกิดขึ้นในจังหวัด เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้รับจากการจัดเก็บตามแบบสอบถาม และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดให้บรรลุตามเกณฑ์การให้คะแนนตามตัวชี้วัดดังกล่าว และเพื่อสร้างความมั่นใจต่อความถูกต้องแม่นยำก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้ใช้ต่อไป นางธิดากล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น