จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

เรียกสถานบันเทิงเมืองภูเก็ตวางกรอบปฏิบัติ



เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 ที่ห้องประชุมชั้น 4 สภ.เมืองภูเก็ต พล.ต.ต.ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต เป็นประธานการประชุมผู้ประกอบการสถานบริการ/สถานบันเทิง/ร้านคาราโอเกะ/ร้านจำหน่ายสุราอาหาร เครื่องดื่มตามนโยบายการจัดระเบียบสังคม โดยมี พ.ต.อ.พรศักดิ์ นวนหนู รองผบก.ภ.จว.ภูเก็ต พ.ต.อ.โชติ ชิดไชย ผกก.สภ.เมืองภูเก็ต พ.ต.ท.จำรูญ พลายด้วง รอง ผกก.สส.สภ.เมืองภูเก็ต เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเจ้าของสถานบริการ/สถานบันเทิง/ร้านคาราโอเกะ/ร้านจำหน่ายสุราอาหาร เครื่องดื่มและตัวแทนผู้ประกอบการ จำนวน 122 รายเข้าร่วม
ทั้งนี้พล.ต.ต.ชนสิษฎ์ ได้กล่าวว่า การเชิญผู้ประกอบการมาในครั้งนี้เพื่อได้ทำการพูดคุยและหาแนวทางการแก้ปัญหาอันเป็นผลมาจากเกิดเหตุทำร้ายร่างกายนายวรสิทธิ์ อิสสระ ผู้บริหารระดับสูงของโรงแรมศรีพันวา ได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งจากการสอบปากคำผู้เกี่ยวข้องพบว่าเกิดจากความเข้าใจผิดเพียงแก้วตกแตกใบเดียว ทำให้เกิดเรื่องใหญ่โต และทำให้ภาพลักษณ์เมืองท่องเที่ยวของภูเก็ตเสียหาย ซึ่งเชื่อว่าผู้ประกอบการเองคงไม่ต้องกาเช่นนั้น เพราะเมื่อประกอบการแล้วต้องการให้คนมาเที่ยวมากๆ เกิดเศรษฐกิจที่ดี และมีเงินทองจับจ่าย จึงต้องมาพูดคุยทำความเข้าใจ เพื่อกำหนดกรอบแนวทางการปฏิบัติของสถานประกอบการ และรับฟังความคิดเห็น เพื่อให้สามารถอยู่และทำงานร่วมกันได้
“ในเรื่องของการทำร้ายร่างกายตามที่มีการนำเสนอข่าวตามสื่อต่างๆ นั้น แนวทางทำงานของตนนั้นไม่ได้มองว่าผู้ถูกกระทำเป็นผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีเงินเป็นพันล้าน หรือจะเป็นประชาชนทั่วไป ก็ให้ความสำคัญเท่าเทียมกันเพราะก่อนที่ตนจะมารับหน้าที่ที่ภูเก็ตนั้นตนดำรงตำแหน่งเดียวกันนี้ที่ จ.สงขลา ซึ่งก็มีสถานบันเทิงไม่ต่างจากภูเก็ต และให้บริการนักท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน เดิมมีความคิดอยู่แล้วที่จะเชิญผู้ประกอบการมาประชุมหารือร่วมกันกัน แต่มาเกิดเรื่องเสียก่อน เพราะไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ที่พนักงานหรือการ์ดของสถานประกอบการใดๆ ทำร้ายผู้ที่เข้าไปใช้บริการ และเชื่อว่าในส่วนของเจ้าของกิจการก็คงไม่ต้องการอย่างนั้นเช่นกัน เพราะจริงๆ แล้วหน้าที่ของพนักงานที่จะต้องทำนั้นคือการอำนวยความสะดวกและบริการลูกค้าผู้ใช้บริการ ส่วนของการ์ดนั้นก็ทำหน้าที่ในการตรวจบัตร อาวุธ หรืออื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่ากฎหมาย หรือพกพาอาวุธหรือยาเสพติดเข้าไปในสถานประกอบการ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็จะต้องไปห้ามปราม หรือหากระงับไม่ได้ก็แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดำเนินการ ไม่ใช่เป็นผู้ลงมือทำร้ายผู้ใช้บริการเสียเอง โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีการใช้อาวุธที่ดัดแปลงมาจากดิสเบรครถจักรยานยนต์เชื่อมกับเหล็กให้มีลักษณะคล้ายกับขวาน ซึ่งตนไม่เคยพบมาก่อนเช่นกัน”
พล.ต.ต.ชนสิษฎ์ กล่าวด้วยว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่ามีการใช้อาวุธที่รุนแรง ดังนั้นหน้าที่ของผู้ประกอบการในเบื้องตน คือ จะต้องมีการจัดทำประวัติพนักงาน ต้องสำรวจตรวจสอบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่หรือเบอร์ติดต่อ จะต้องไม่รับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าทำงาน ไม่ยินยอมหรือปล่อยให้ผู้ที่มึนเมาเข้าไปสร้างความวุ่นวายและจะต้องงดจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ควบคุมดูแลไม่ให้นำสิ่งเสพติดเข้าไปในสถานบริการ รวมถึงการนำอาวุธเข้าไปด้วยไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้บริการหรือพนักงานในร้านซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบว่ามีการนำไปซุกซ่อนในจุดใดบ้าง เช่น ในห้องน้ำ ใต้โต๊ะหรือในตู้ เพดาน เป็นต้น รวมถึงการจะต้องไม่ยินยอมให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าไปใช้บริการด้วย
อย่างไรก็ตามสำหรับระเบียบข้อกำหนดต่างๆนั้น ก็จะให้ทางสถานีตำรวจภูธรเมืองภูเก็ตนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ประกอบการทุกร้านได้นำไปเป็นแนวทางและถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งตนก็จะลงไปพบปะพูดคุยอีกครั้งในสถานประกอบการอีกครั้ง เพื่อจะดูว่ามีการปฏิบัติหรือไม่ หรือมีสถานประกอบการใดที่ไม่ให้ความร่วมมือ เพราะไม่ต้องการให้เกิดปัญหาซ้ำขึ้นมาอีก และหากสถานบริการถูกสั่งปิดก็จะเกิดความเดือดร้อนไม่เฉพาะกับเจ้าของสถานประกอบการเท่านั้นแต่รวมไปถึงพนักงานคนอื่นๆ หรือสถานประกอบการอื่นๆ ที่ทำถูกต้องก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย
ด้าน พ.ต.อ.โชติ ชิดไชย ผกก.สภ.เมืองภูเก็ต ว่า ที่ผ่านมาก็ได้มีการเรียกประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะก่อนที่จะถึงเทศกาลปีใหม่ เพื่อเน้นย้ำแนวทางปฏิบัติ แต่ก็ไม่วายเกิดเรื่องจนได้ ดังนั้นในครั้งนี้ก็ขอความร่วมมือผู้ประกอบการในเรื่องของการปิดเปิดให้ตรงตามเวลาที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากแต่ละสถานประกอบการจะมีใบอนุญาตที่แตกต่างกัน เพราะหากเกิดกำหนดก็อาจจะเกิดเหตุขึ้นได้อีก รวมทั้งฝากในเรื่องการตรวจอาวุธ การพกพายาเสพติด ห้ามเด็กที่อายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าไปใช้บริการ และไม่รับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 เข้าทำงาน
ทางด้านนายบุญเสริฐ นาเวชน์ ตัวแทนพิงค์เลดี้กรุ๊ป ซึ่งเปิดให้บริการมาร่วม 20 ปี กล่าวว่า ในเรื่องการควบคุมดูแลพนักงานในร้านเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นมาก ซึ่งในส่วนของพิงค์เลดี้จะมีข้อปฏิบัติที่ชัดเจน โดยเฉพาะการปฏิบัติตัวซึ่งจะต้องไม่ไปมีปัญหากระทบกระทั่งกับลูกค้าที่มาใช้บริการ เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้นการที่จะขอขยายเวลาในการให้บริการเป็นสามนาฬิกาหรือสี่นาฬิกาก็เป็นเรื่องที่ยากขึ้น เนื่องจากขนาดนี้เราก็ยังไม่สามารถที่จะควบคุมได้ และเมื่อเกิดเรื่องขึ้นทุกร้านก็ได้รับผลกระทบและเดือดร้อนเหมือนกัน
ส่วนของนายศักดิ์ชัย ชูสุวรรณ ผู้จัดการกอทอมอคลับ กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเราจะต้องเข้าไปดูแลองค์กรก่อน มีการวางแผนการปฏิบัติงาน กำหนดกฎระเบียบและบทลงโทษที่ชัดเจน ซึ่งรวมไปถึงการคัดเลือกพนักงาน เนื่องจากเราต้อนรับลูกค้าทุกระดับไม่ว่าจะมีเงินมากหรือน้อยทุกคนเท่าเทียมกัน เริ่มตั้งแต่ปากทางเข้าร้านซึ่งจะมีการ์ดที่ตรวจบัตร และเมื่อเข้าไปในร้านก็จะเป็นหน้าที่ของพนักงาน รวมถึงนักดนตรีด้วยที่จะต้องร่วมกันดูแลและบริการลูกค้า ซึ่งจากการถือปฏิบัติอย่างเข้มงวดทำให้ได้รับประกาศเป็นสถานประกอบการสีขาว
ขณะที่นายสุพจน์ ธันธารา ผู้จัดการร้านแฟนตาเซีย กล่าวในเรื่องเดียวกันนี้ว่า ที่ตั้งของร้านถือเป็นแลนด์มาร์กในตัวเมืองจุดหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมาในส่วนของพนักงานนั้นเราได้มีการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด มีการทำประวัติไว้อย่างชัดเจน และมีข้อห้ามว่าไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือมีปัญหากับลูกค้าโดยเด็ดขาด เช่นเดียวกับเรื่องของยาเสพติดซึ่งทางร้านจะซื้ออุปกรณ์มาตรวจเองเดือนละ 2 ครั้ง หากพบก็จะไล่ออกทันที ตลอดจนการอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนการรักษาความปลอดภัยก็ใช้บริการของบริษัทรักษาความปลอดภัยมาดูแล และจะปิดเปิดตามที่กฎหมายกำหนด หากลูกค้าขอนั่งต่อสามารถทำได้ แต่ก็จะไม่การให้บริการ 










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น