จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาผู้นำในงานสุขภาพภาคประชาชน


เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2554 สิงหาคม 2554 ที่ศาลาประชาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.ภูเก็ต) เป็นประธานเปิดการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (อสมช.) พร้อมมอบชุดเครื่องเสียงและแท่นออกกำลังกายโครงการ ภูเก็ต 1 ตำบล 1 แอโรบิก ปี 2554 ตามโครงการพัฒนาผู้นำในงานสุขภาพภาคประชาชนในปีงบประมาณ 2554
ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือของ อบจ.ภูเก็ต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต และสมาคมอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต โดยมี นพ.ศักดิ์ แท่นชัยกุล สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต นายมานพ ลีลาสุธานนท์ ปลัด อบจ.ภูเก็ต นายประดิษฐ์ แสงจันทร์ ประธานสภาฯ สมาชิกสภาฯ ข้าราชการและพนักงาน อบจ.ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จากทุกตำบลของจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมประมาณ 200 คน
นายมานพ ลีลาสุธานนท์ ปลัด อบจ.ภูเก็ต กล่าวว่า อบจ.ภูเก็ต จึงได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต และสมาคมอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ได้คัดเลือก อสม.แต่ละตำบล จำนวน 11 สาขาประกอบด้วย สาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ, สาขาเอดส์, สาขาสุขภาพจิต, สาขาแก้ปัญหายาเสพติด, สาขาส่งเสริมสุขภาพ, สาขาการบริการ, สาขาการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ, สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค, สาขาการแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น, สาขาการจัดการชุมชนและสาขานมแม่สายใยรักแห่งครอบครัว เข้ามารับการอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.ในจังหวัดภูเก็ตให้มีขีดความรู้ความสามารถ และเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการพึ่งตนเองและของชุมชน
ทั้งนี้เป็นผลมาจากแนวคิดที่ต้องการให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน และมีหน้าที่แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี นายมานพกล่าว
ขณะที่นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ กล่าวกับผู้เข้ารับการอบรมว่า การพัฒนาศักยภาพ อสม.ให้มีความรู้ ความสามารถเกิดการปฏิบัติหน้าที่ที่มีคุณภาพ และสามารถนำไปปรับใช้ในส่วนงานที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะ อสม.เป็นบุคคลที่มีจิตสาธารณะ มีความมุ่งมั่นเสียสละ เคียงบ่าเคียงไหล่กับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินงานสาธารณสุขมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปีจนเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่นและชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น